วงเสวนา "ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปอะไร และอย่างไร" หนุน ปฏิรูปในทุกด้าน เหตุอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมเนื่องจากไร้ปัญหาการเมือง

วันที่ 14 ต.ค. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมมือกับ Eisenhower Fellowship Alumni (Thailand) และ Eisenhower Fellowship จัดงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย-ปฏิรูปอะไร และอย่างไร"

โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้กล่าวถึงหลักการปฏิรูปเศรษฐกิจว่า กำหนดแนวทางการปฏิรูป 5 หลัก คือ 1.ให้ความสำคัญคุณภาพกว่าปริมาณ เพราะประชาชนไทยมีจำนวนจำกัด จึงต้องการทำงานที่มีคุณภาพอย่างมั่นคง 2.ส่งเสริมการแข่งขันรัฐและเอกชนให้มากขึ้น 3.ลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม เน้นทางด้านโอกาสทุกคนต้องมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตเท่ากัน 4.สร้างภูมิคุ้มกันในระบบ 5.ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน ต้องประสานงานให้เป็นประโยชน์

ทั้งนี้ ดร.วิรไท กล่าวอีกว่า ปีนี้เป็นรากฐานเพื่อการต่อเนื่องในระยะยาว สำคัญที่สุดในการปฏิรูป คือ เรื่องกฎหมาย เพราะตอนนี้ถือว่า เป็นเรื่องที่ง่ายเนื่องจากไม่มีปัญหาการเมือง หลายคนอาจไม่สบาย ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการเปลี่ยนแปลง

ส่วนด้านการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ นายรพี สุจริตกุล กรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจถูกรัฐบาลควบคุมมาในทุกรัฐบาล ควรปฏิรูป mind set เพราะรัฐวิสาหกิจถือว่าเป็นของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีองค์กรกำกับดูแลให้มีความเป็นอิสระจากกระทรวง อีกทั้งควรมี KPI ชี้วัดรัฐวิสาหกิจได้ พร้อมเปิดเผยข้อมูลผลชี้วัดแก่ประชาชนอย่างโปร่งใส

ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวถึงกระบวนการปฏิรูปสื่อมวลชนว่า สื่อจำเป็นต้องปฏิรูปในส่วนของโครงสร้าง เปิดพื้นที่ให้สื่ออย่างเสรีและเป็นธรรม เพราะไม่สามารถยึดคลื่นความถี่เดิมได้ จึงจำเป็นที่ต้องสร้างคลื่นใหม่ เพื่อสร้างตัวเลือกให้ประชาชน อย่างทีวีดิจิตอลที่สร้างความคึกคักมากในอุตสาหกรรม

...

ทั้งนี้ นางสาวสุภิญญากล่าวอีกว่า เรื่องเนื้อหาก็สำคัญในด้านการปฏิรูป ในเรื่องของจริยธรรม-จรรยาบรรณของสื่อ โดยต้องเพิ่มความรับผิดชอบอย่างมีเสรีภาพควบคู่กันไป เพราะสื่อทำหน้าที่แทนประชาชน

เมื่อถามว่า เมื่อสื่อต้องใช้ทุนแล้วประชาชนจะได้รับรู้ความจริงมากร้อยเพียงใด แม้จะมีอินเทอร์เน็ตก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า เป็นไปได้ยากที่จะแยกออกมาเป็นอิสระ ฉะนั้น ควรปลูกฝังความรู้เท่าทันสื่อแก่ประชาชน

ขณะกรณีปฏิรูปด้านการศึกษา ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ควรเปลี่ยนระบบบริหารการจัดการทั้งหมด ตอนนี้การศึกษาสอนให้เด็กเรียนต่อไปเรื่อยๆ โดยอยู่ในโจทย์ เรียนไม่ต้องเก่งแต่ต้องมีงานทำ แต่แท้จริงนั้น ปวช. ปวส ก็มีงานทำไม่แพ้ปริญญาตรี อีกทั้งควรวางขั้นตอนกระจายอำนาจ เน้นการตั้งงบประมาณนำร่องจังหวัดและกองทุนเพื่อการปฏิรูประยะยาว อย่างไรก็ตามเรื่องครูในระบบการศึกษาก็สำคัญ ควรสนับสนุนครูที่อยู่ในพื้นที่ลำบาก

ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า การศึกษาที่ดีไม่ใช่แค่การเรียนต่อหรือมีงานทำ แต่ต้องศึกษาเพื่อยกระดับจิตใจ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ด้านการปฏิรูปธรรมาภิบาลภาครัฐ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องนโยบายประชานิยมว่า แม้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 จะออกกฏหมายป้องกันนโยบายประชานิยม ในมาตรา 53(7) และ 35(8) โดยมุ่งจำกัดไม่ให้นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นเลย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาของความชอบธรรมในระบบประชาธิปไตย ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ 1.เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจว่า นโยบายใดเป็น นโยบายประชานิยม เพราะไม่ได้มีความจำกัดความที่ทุกฝ่ายเห็นเหมือนกัน 2.เป็นการจำกัดเสรีภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในการนำเสนอนโยบาย

ทั้งนี้ ดร.สมเกียรติ ได้กล่าวถึงทางออกในปัญหานี้ว่า ต้องเพิ่มกลไกตรวจสอบถ่วงดุลโดยรัฐสภา ควบคู่กับการสร้างกฏิกาต่างๆ คือ 1.แก้กฏหมายเลือกตั้ง เพื่อกำหนดให้พรรคการเมือง ต้องแจ้งต้นทุนทางการคลังของนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงต่อประชาชน 2.มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่เป็น ธรรมนูญการคลัง กำหมดให้การจ่ายเวินแผ่นดินใดๆ ต้องทำตามกฏหมายว่าด้วยงบประมาณ 3.มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้มีตรากฏหมาย เพือกำหนดกรอบวิจัยทางการคลังด้านต่างๆ 4.จัดตั้งสำนักงบประมาณแห่งรัฐสภาขึ้นเป็นหน่วยวิเคราะห์งบประมาณและการคลังของรัฐสภาที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร

ดร.สมเกียรติกล่าวอีกว่า จากนี้ในระยะยาว ควรมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยจัดให้มีการศึกษามี่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และจัดให้มีสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ

 ส่วนการปฏิรูปด้านวิธีคิดและจิตวิญญาณ นพ.บัญชา พงษ์พานิช เลขานุการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า จิตวิญญาณ คือ ระบบวิธีคิด ปกติเราจะมีหลักการที่ สุขกาย สุขใจ สุขสังคม ส่วนสุขด้านจิตวิญญาณ ยังคงเป็นจอขัดแย้ง ในส่วนของการปฏิรูป มีหลักใน 2 ประการ คือ 1.ระบบวิธีคิดและการศึกษา สมควรแก่การรื้อใหม่หมด เพราะการศึกษายังสอนแต่วิชาชีพ แต่ลืมสอนคุณค่าทางชีวิต อย่างเช่น ครู ก็สอนได้แค่วิชาที่ตัวเองถนัด 2.ระบบศีลธรรม-จริยธรรม ทุกศาสนามีมิติในการสอนใช้ชีวิต ไม่ควรยึดติดกับศาสนาของตนเอง ฉะนั้น การปฏิรูปควรใช้คำว่า ธรรมนิยมเป็นหลัก โดยใช้วิธีคิดและจิตวิญญาณเป็นรากฐานสำคัญ