คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปมเลือกตั้งโมฆะ (ฉบับเต็มอย่างไม่เป็นทางการ)
วันที่ 25 มี.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลสรุปคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2557 (อย่างไม่เป็นทางการ) เรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เป็นการเลือกตั้งที่ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) บัญญัติให้ผู้ร้องมีอํานาจเสนอเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้ “เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วย รัฐธรรมนูญ” ซึ่งมีความหมายกว้างกว่ากรณีที่ศาลอื่นจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ตามคําร้อง เป็นกรณีที่ผู้ร้องได้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การดําเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง มาตรา 93 วรรคสอง มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 235 และ มาตรา 236 (1) และ (2) หรือไม่
...
เมื่อพิจารณาเนื้อความในคําร้องทั้งหมดแล้วเห็นได้ว่า ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กําหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ด้วยเนื่องจากการดําเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ อันเป็นประเด็นปัญหาตามคําร้อง เป็นการดําเนินการที่ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกําหนดวันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 จึงเป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว และถึงแม้พระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ํากว่าพระราชบัญญัติ แต่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มิใช่พระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติซึ่งอยู่ในอํานาจตรวจสอบของศาลปกครอง หากแต่เป็น พระราชกฤษฎีกาที่ตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ และด้วยเหตุที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เป็นกฎหมายเฉพาะที่มีลักษณะพิเศษซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง อันเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติในหมวด 6 ว่าด้วยรัฐสภา และเป็นส่วนที่สําคัญของบทบัญญัติ เกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ที่ผู้ร้องอาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
ประกอบกับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ไม่สามารถดําเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ในวันเดียวกันได้ ทั้งยังทําให้เกิดปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาอีกหลายประการ ซึ่งไม่มีองค์กรอื่นใดนอกจากศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีอํานาจตรวจสอบความชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ คดีจึงอยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับพิจารณาวินิจฉัยไว้ได้ กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ประกอบข้อกําหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทําคําวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 17 (18) ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคําสั่ง รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย
ประเด็นวินิจฉัย
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖ เฉพาะในส่วนที่กําหนดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ซึ่งในการพิจารณาประเด็นตามคําร้องนี้ มีเหตุแห่งคําร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยก่อนว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ได้กระทําเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง หรือไม่ พิจารณาแล้ว เห็นว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กําหนดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ดําเนิน การจัดการเลือกตั้งโดยกําหนดวันให้พรรคการเมืองจะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2556 และกําหนดวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2557 แต่ปรากฏว่ามีการชุมนุมทางการเมืองประท้วง และขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งเป็นผลให้เขตเลือกตั้งจำนวน 28 เขต ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง บัญญัติชัดแจ้งว่า “...วันเลือกตั้งนั้นต้องกําหนด เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร” การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ให้กําหนดวันเลือกตั้ง เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปตามหลักพื้นฐานของการเลือกตั้งที่สําคัญ ได้แก่ หลักการเลือกตั้งโดยเสรี กล่าวคือ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทุกคนย่อมใช้ สิทธิโดยปราศจากการบังคับ หรือกดดันทางจิตใจหรือการใช้อิทธิพลใดๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าการใช้อิทธิพลเหล่านี้จะมาจากฝ่ายใดๆ ทั้งระหว่างการเลือกตั้งและภายหลังการเลือกตั้ง ต้องไม่ให้มีการควบคุมทิศทางการลงคะแนนเสียงไม่ว่าจะเป็นโดยการกระทําในรูปแบบใด ผู้ออกเสียง เลือกตั้งต้องตัดสินใจลงคะแนนได้อย่างอิสระภายใต้กระบวนการสร้างความคิดเห็นทางการเมืองที่เปิดเผย หลักการเลือกตั้งโดยเสรีนี้จึงครอบคลุมถึงการตระเตรียมการเลือกตั้งและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบคลุมถึงการหาเสียงเลือกตั้งด้วย จึงเห็นได้ว่าการกําหนดวันเลือกตั้งเป็นการทั่วไปมากกว่าหนึ่งวัน จะทําให้พฤติกรรมการหาเสียง พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือบรรดาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันเลือกตั้งเป็นการทั่วไปที่กําหนดขึ้นในวันหนึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งที่กําหนดขึ้นในอีกวันหนึ่งได้
วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง เป็นวันที่เมื่อกําหนดขึ้นแล้ว ผู้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีหน้าที่ต้องไปดําเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่กําหนดไว้ ในพระราชกฤษฎีกานั้น คือ การรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง การประกาศชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส่วนวันลงคะแนนเลือกตั้งนั้นกําหนดขึ้นโดยอาศัย อํานาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับการดําเนินการจัดการเลือกตั้ง ทั่วไปตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ การกําหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งวันลงคะแนนเลือกตั้งอาจมีได้หลายวัน เช่น การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งตามมาตรา 94 การลงคะแนนเลือกต้ังก่อนวันเลือกตั้ง ตามมาตรา 95 แต่การใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น จะมีได้ก็ต่อเมื่อมีผู้สมัครรับเลือกตั้งอยู่ในวันที่ลงคะแนน เลือกตั้งเพื่อให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ ในขณะที่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปจะต้องมีเพียงวันเดียวตามรัฐธรรมนญู มาตรา 108 วรรคสอง
กรณีปัญหาที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งนั้น เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ในส่วนที่กําหนดอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดําเนินการจัดให้มี การลงคะแนนเลือกตั้งใหม่แล้ว เห็นว่า มาตรา 78 เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจคณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่การลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งแห่งใด ไม่สามารถกระทําได้เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจําเป็นอย่างอื่น ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง และมาตรา 108 เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในกรณีก่อนวันเลือกต้ัง ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด หรือในเขตเลือกตั้งใดจะมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเกิดจากการกระทํา ของเจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้งหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ส่วนการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น มาตรา 88 เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวและผู้สมัครนั้นได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือไม่มากกว่าจํานวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน
มาตรา 103 วรรคหก เป็นบทบัญญัติ ที่ให้อํานาจคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคําสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังวันลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ก่อนวันประกาศผลการเลือกตั้ง มาตรา 109 เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือนับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหรือทุกหน่วยในเขตเลือกตั้งใดกรณีเมื่อได้มีการนับคะแนนเลือกตั้งแล้ว ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นมิได้ เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือการนับคะแนนเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง และมาตรา 111 เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในกรณีเมื่อประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทําการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อที่จะให้ ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตโดยผลของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองได้กระทํา ทั้งนี้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง