ปชป.เปิดตัว คณะผู้เชียวชาญ 9 ด้าน รวม 31 คน “สุรพล นิติไกรพจน์” ประกาศพร้อมช่วยงาน “สุขุมพันธุ์” หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย

วันที่ 27 ก.พ.2556 ที่ร.ร. เซนทาราแกรนด์ลาดพร้าว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. พรรคประชาธิปัตย์ นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว ทีมผู้เชี่ยวชาญ สานงานต่อกรุงเทพฯของ มรว.สุขุมพันธุ์ ซึ่งมีทั้งหมด 9ด้าน รวมมีคณะผู้เชียวชาญมาช่วยงานมรว.สุขุมพันธุ์ หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกสมัย จำนวนทั้งหมด 31 คน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสื่อมวลชน เน้นไปที่กิจกรรมภาคการเมือง แต่สิ่งที่อยากนำเสนอวันนี้ เรามีนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน เราจะมีสิ่งที่เรียกว่า สภาที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นำโดยดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธานที่ปรึกษากิติมศักดิ์ ซึ่ง อ.สุรพล ก็ตอบรับแล้ว เพราะเราต้องการให้นโยบายที่เราทำให้ประชาชนประสบผลสำเร็จ ตอนนี้เรามีบุคคลผู้เชียวชาญ ที่จะร่วมทำงานครบแล้ว

ขณะที่ด้าน มรว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ผมพอทราบงานการเมืองมีความสลับซับซ้อน เพราะผมเคยเป็นทำงานทางการเมืองมาหลายสมัย จึงรับทราบว่างานสลับซับซ้อน 4 ปีผ่านไป ผมยิ่งมีความตระหนักในงานกทม.ทีมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น อาจมีปัญหาทางเทคนิค ลำพังฝ่ายการเมืองเองไม่มี เรื่องเทคนิคเป็นเรื่องสำคัญ งานกทม.กล่าวได้ว่า ยิ่งรู้มาก ก็จะรู้น้อย ยิ่งรู้มากก็จะทราบว่า บางสิ่งทำไม่ได้ เป็นงานที่ยากจริงๆครับ ทำได้ก็ต้องมีผู้มีความเชียวชาญด้านต่างๆมาช่วย วันนี้หลายท่านตอบรับแล้วว่า หากผมกลับมาเป็นผู้ว่าฯกทม. ก็จะมาช่วยงานให้พรรคปชป.

อีกเรื่องที่สำคัญคือ ผู้เชียวชาญ งานด้านภัยพิบัติ สมัยนี้ต้องสามารถรับมือได้อย่างรวดเร็ว โชคดี ได้บุคคลมีความสามารถมาช่วย อย่าง นายปราโมทย์ ไม้กลัด หรือ นายประเสริฐ สมะลาภา วันนี้ที่เชิญมาจึงเพื่อความพร้อม แทนที่เราจะต้องรอ ก็เชิญมาซะเลย

รายชื่อส่วนแรกเป็นผู้มีความรอบรู้ เชิญมาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ได้แก่ ประธาน ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ นายสุรพล นิติไกรพจน์อดีตอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.มานพ พงศ์ทัศ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

...

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย-ภัยพิบัติและการจัดการน้ำ ได้แก่ ดร.สุทัศ วีสกุล (ผู้อำนวยการโครงการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย) ดร.พรศักดิ์ ศุภธราธาร (กรรมการบริหาร บริษัทคอนซัลติ้งเอนจิเนียริ่งแมเนจเมนท์ จำกัด) ดร.ปิยวัติ ขนิษฐาบุตร (ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติเมือง) ดร.ชูสิทธิ์ อภิรมย์มณีกุล (ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย)

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย-อาชญากรรมและความมั่นคง ได้แก่ พล.ท.อิสระ วัชรประทีป อดีตรองแม่ทัพภาค1 พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

ผู้เชียวชาญด้านความสุข-โครงสร้างพื้นฐาน/ จราจร ได้แก่ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค(อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์) ดร.ไกร ตั้งสง่า (ประธานกรรมการบริษัทพีระมิด ดีเวลล็อปเม้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยและวิศวกรรมเมือง)

ผู้เชี่ยวชาญด้านความสุข-สุขภาพ ได้แก่ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตรองปลัดกทม.ฝ่ายสำนักการแพทย์ สพญ.ณิโคล ศิริโศภิษฐ์ เมห์ล สัตวแพทย์อาสา

ผู้เชียวชาญด้านสิ่งแวดล้อม /ภูมิสถาปัตย์ ได้แก่ ศจ.ดร. สนิท อักษรแก้ว (อดีตประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย) รศ.ดร.หรรษา สงวนน้อย (หัวหน้าสถาบันการศึกษา และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) นางวรรณพร พรประภา (กรรมการผู้จัดการบริษัทพีแลนด์สเคป จำกัด และอดีตกรรมการบริหารสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย)

ผู้เชียวยชาญด้านการเรียนรู้-การศึกษา ได้แก่ รศ.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผอ.สถาบันรามจิตติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผอ.ศูนย์ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ได้แก่ น.ส.อาภรณ์ วงษ์สังข์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน น.ส.เสาวรักษ์ ทองก๊วย หัวหน้าสำนักงาน องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ผู้เชียวชาญด้านอาเซียน/ท่องเที่ยว/เศรษฐกิจ ได้แก่ นายขรรค์ ประจวบเหมาะ(อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์) ดร.บุญญรักษ์ นิงสานนท์ (อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน) นายภราเดช พยัฆวิเชียร (นายกสมาคมสถาปนิกชุมชนเมือง และอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (อดีตประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมีโก้ จำกัด)

ผู้เชียวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม และกีฬา ได้แก่ นายเพชร โอสถานุเคราะห์ (กรรมการบริษัทโอสถสภาจำกัด) นายวรพันธุ์ โรกิตสถาพร (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย) นางริสรวล อร่าม (อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัทแปลนฟอร์ คิดส์ จำกัด) อ.ณัฐรดา เลขะธนชลท์ (อาจารย์มหาวิทยาลัยอัสสัมชันและผอ.ศูนย์การเรียนรู้Mindbrick) นายสกุล อินทกุล (ศิลปินนักออกแบบและจัดดอกไม้ระดับนานาชาติ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ดอกไม้ ) นายศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี (ศิลปินวาดภาพร่วมสมัย) และนายอภิชัตย์ รัตนิน (ประธานสหพันธ์กีฬาเอ็กซ์ตรีมแห่งเอเชีย)

ทั้งนี้ มรว.สุขุมพันธุ์ ย้ำว่า หากได้กลับไปเป็นผู้ว่าฯกทม.นี้ บุคคลเหล่านี้ ก็พร้อมที่จะมาช่วยงานในทุกด้านของกทม.อยู่แล้ว

สุรพล กล่าวว่า ในทัศนคติผม กทม.เป็นมหานคร และต้องมีการบริหารจัดการผู้คนจำนวน กว่า 10 ล้านคน เราคิดว่า กทม.ต้องการคนบริหารมากกว่าการปกครอง เป็นเหตุผลหลายอย่างที่เราหลายคน ตัดสินใจมาช่วย มรว.สุขุมพันธุ์ ความจริง 30 กว่าคน มีงานมีการทำอยู่แล้ว ไม่ใช่อยากมีอำนาจเข้ามาบริหาร กทม. แต่ต้องการให้ใช้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน อยู่แล้ว ผมย้ำอีกครั้งว่าเราไม่ได้คิดว่าจะมาทำหน้าที่บริหารกทม. แต่เราจะใช้ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญที่เรามีในแต่ละด้าน มาช่วยบริหารกทม. ผมเชื่อว่า หากคนกทม.เห็นว่าใครจะมาบริหารกทม.ได้ ก็จะง่ายในการเลือกบุคคลมาเป็นผู้บริหารกทม. ท่านมรว.สุขุมพันธุ์ เห็นว่า พวกเราทั้งหมด มาจากความเชียวชาญหลายสาขา ทั้ง 30 กว่าคน ที่มีความมั่นใจว่า ท่านสุขุมพันธุ์ จะมีความสามารถในการบริหารกทม.ได้ ผมเคยเห็นผลงานหลายด้านที่ คุณชาย ทำมาทั้งการจราจร ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า บีทีเอส การผลักดันให้เกิดมหาวิทยาลัยสังกัด กทม. งานสร้างสวนสาธารณะ งานป้องกันน้ำท่วม การที่พวกเรามาร่วมกัน ยินดีที่จะช่วยนำประสบการณ์ที่ดีของพวกเรามาช่วย หากคุณชายได้เป็นผู้ว่าฯอีก 4 ปี ก็เชื่อว่ากทม.จะอยู่ในมือของคนกทม.และสามารถทำงานต่างๆได้มากขึ้น

ทั้งนี้ การเปิดตัวคณะผู้เชียวชาญด้านต่างๆ จำนวน9ด้าน รวมทั้งสิ้น 31 ท่านของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ถูกจับตาจากสังคมว่า เพื่อมาช่วยดึงคะแนนเสียงของพรรคในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในช่วงโค้งสุดท้ายการรณรงค์หาเสียงแข่งกับฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่งสำคัญอย่างพรรคเพื่อไทย.