สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจ คนไทยอยากให้รัฐบาลแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวเป็นของขวัญปีใหม่ ส่วนปัญหาที่อยากให้แก้เร่งด่วนคือ ค่าครองชีพ-ยาเสพติด

วันที่ 8 ธันวาคม 2567 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล” กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 3-6 ธันวาคม 2567 พบว่า

ในคำถามว่ามีแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือไม่

ร้อยละ 56.02 ระบุ มีแผนเดินทางท่องเที่ยว

  • เที่ยวในประเทศ ร้อยละ 90.26
  • เที่ยวต่างประเทศ ร้อยละ 9.74

ร้อยละ 43.98 ระบุ ไม่มีแผนเดินทางท่องเที่ยว


จังหวัดที่อยากไปเที่ยวมากที่สุด

ร้อยละ 56.83 ระบุ เชียงใหม่
ร้อยละ 49.05 ระบุ เชียงราย
ร้อยละ 38.10 ระบุ กรุงเทพมหานคร
ร้อยละ 37.30 ระบุ กาญจนบุรี
ร้อยละ 25.71 ระบุ กระบี่


ประชาชนคาดการณ์ว่าจะใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ (เฉลี่ยประมาณ 17,317.10 บาท/ต่อคน)

ร้อยละ 46.94 ระบุ ไม่เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 23.89 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 19.53 ระบุ 10,000-20,000 บาท
ร้อยละ 9.64 ระบุ มากกว่า 20,001 บาทขึ้นไป


ในคำถามว่าจากที่รัฐบาลประกาศจะมอบของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน อยากได้ของขวัญใดจากรัฐบาล

ร้อยละ 59.95 ระบุ มาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวช่วงปีใหม่
ร้อยละ 58.03 ระบุ ช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพลังงานต่างๆ
ร้อยละ 53.17 ระบุ มาตรการลดค่าครองชีพช่วยประชาชน


ประชาชนคิดอย่างไรกับการมอบของขวัญให้ประชาชนช่วงปีใหม่จากรัฐบาล

...

ร้อยละ 60.76 ระบุ ควรเป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินงานของรัฐบาลอยู่แล้ว
ร้อยละ 51.95 ระบุ ควรให้ของขวัญที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
ร้อยละ 48.81 ระบุ อย่างไรก็ได้ หากประชาชนได้ประโยชน์


ส่วนคำถามว่า ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลแก้ไขก่อนปีใหม่

ร้อยละ 66.48 ระบุ ปัญหาค่าครองชีพ
ร้อยละ 57.51 ระบุ ปัญหายาเสพติด
ร้อยละ 56.46 ระบุ ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง

ขณะที่ นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนคาดหวังจากรัฐบาลคือมาตรการแจกเงิน สะท้อนภาระค่าครองชีพที่เป็นปัญหาหลักในปัจจุบัน ความต้องการของประชาชนไม่ได้เป็นเพียงความหวัง แต่เป็นสัญญาณที่สะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในประเทศ รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสช่วงปีใหม่พัฒนานโยบายเศรษฐกิจที่มีผลยั่งยืน เพื่อไม่ให้ของขวัญกลายเป็นเรื่องพิเศษแต่กลับสะท้อนปัญหาพื้นฐานในสังคม.