นิด้าโพลเผยคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจประเด็นโต้แย้ง MOU 44 ด้านคนเข้าใจกลับไม่ไว้วางใจว่ารัฐบาลจะปกป้องผลประโยชน์ชาติได้


วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “มีใครเข้าใจประเด็นโต้แย้งเรื่อง MOU 44 และเกาะกูดบ้าง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจของประชาชนในประเด็นการโต้แย้ง MOU 2544 และสถานการณ์ของเกาะกูด สุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97.0

โดยคำถามถึงความเข้าใจของประชาชนในประเด็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูด พบว่า

  • ร้อยละ 58.86 ระบุว่า ไม่เข้าใจเลย
  • ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเข้าใจ
  • ร้อยละ 15.65 ระบุว่า ค่อนข้างเข้าใจ
  • ร้อยละ 6.18 ระบุว่า เข้าใจมาก


เมื่อถามผู้ที่ระบุว่ามีความเข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจในประเด็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูด (จำนวน 288 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความไว้วางใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้หากมีการเจรจา MOU 44 กับรัฐบาลกัมพูชา พบว่า

  • ร้อยละ 33.68 ระบุว่า ไม่ไว้วางใจเลย
  • ร้อยละ 29.17 ระบุว่า ไม่ค่อยไว้วางใจ
  • ร้อยละ 24.65 ระบุว่า ค่อนข้างไว้วางใจ
  • ร้อยละ 12.50 ระบุว่า ไว้วางใจมาก

...


สำหรับความต้องการที่จะเข้าใจข้อโต้แย้ง MOU 44 และสถานการณ์ของเกาะกูดให้ชัดเจนมากขึ้น พบว่า

  • ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ไม่ต้องการเลย
  • ร้อยละ 26.72 ระบุว่า ต้องการมาก
  • ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างต้องการ
  • ร้อยละ 15.42 ระบุว่า ไม่ค่อยต้องการ


ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการมีแนวคิดความเป็นชาตินิยมของประชาชน พบว่า

  • ร้อยละ 40.15 ระบุว่า มีความเป็นชาตินิยมมาก
  • ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ความเป็นชาตินิยมขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • ร้อยละ 15.04 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นชาตินิยม
  • ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ไม่มีความเป็นชาตินิยมเลย
  • ร้อยละ 6.26 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นชาตินิยม
  • ร้อยละ 2.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ