การปรับตัวทางธุรกิจในการ สร้างความสามารถทางการแข่งขัน คือหัวใจสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต วิกฤติทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเส้นตายที่ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เทคโนโลยี เข้าทดแทนและเป็นกลไกที่สำคัญในการบริหาร เน้นการพัฒนาและการพึ่งพาตัวเอง มากกว่า รอการสนับสนุน เพราะโอกาสในการแข่งขันมีจำกัด
การพัฒนาโครงสร้างขององค์กร นอกจากจะมีการปรับปรุงโครงสร้างให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์แล้วจะต้องปรับทัศนคติการบริหารให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มากขึ้น องค์กรที่เป็นตัวอย่างของการพัฒนาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรหนึ่งก็คือ ปตท. ซึ่งมีการการันตีจาก องค์กรมาตรฐานระดับสากลมากมาย
ล่าสุด ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.เปิดเผยถึงรางวัลความสำเร็จของ ปตท.ในปีนี้ โดยได้รับ รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Awards of Honor และ รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านนวัตกรรม หรือ SET Awards of Honor เป็นการสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของ ปตท.ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืนในทุกมิติ
การลงทุนต้องเกิดประโยชน์ทั้งองค์กรและประเทศ สร้างความเชื่อมั่นในทุกภาคส่วน และสร้างพลังร่วมภายในกลุ่ม ปตท.ภายใต้วิสัยทัศน์ ปตท.แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน
เราจะเห็นคำว่า ยั่งยืน อยู่ในแทบจะทุกกลยุทธ์ของการบริหาร แต่จะทำอย่างไรให้ความยั่งยืนเป็นรูปธรรมและนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เป็นโจทย์ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่ทำได้จริงและบรรลุเป้าหมาย
การที่ ปตท.ยึดมั่นในพันธกิจหลัก การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมบูรณาการความยั่งยืนไปสู่ธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 หรือ ค.ศ.2050 อาจจะก้ำกึ่ง ระหว่างนโยบายที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม เพราะ องค์กรไหนก็สามารถเขียนแผนงานให้ดูดีออกมาแบบไหนก็ได้ แต่นโยบายเหล่านี้จะไปวัดกันที่ผลลัพธ์สุดท้าย
...
แนวทางการดำเนินงาน C 3 ปรับ ผลงาน และพิจารณาการปล่อยคาร์บอน ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ หรือ Climate Resilience Business ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เช่น การนำพลังงานสะอาด การนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ รวมทั้งการนำคาร์บอนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ Carbon Conscious Asset และการประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก เป็นรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรสมัยใหม่ ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าอย่างยั่งยืน
ความสำเร็จด้านนวัตกรรมที่ ปตท.ได้รับมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความสำเร็จที่ไม่ใช่แบบฉาบฉวย แต่เป็นการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เป็นการต่อยอดของธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศทั้งระบบ.
หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th
คลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม