“เรืองไกร” ร้อง กกต. เอาผิด “นายกฯ แพทองธาร” ปมเซ็นลาออกจากกรรมการบริษัท แตกต่างเมื่อเทียบกับ “ซาบีดา” ย้ำ มาร้องเองตามสิทธิ ไม่มีใครจ้างวาน ฟาด คนวิจารณ์ให้สำเนียก

วันที่ 23 กันยายน 2567 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลืองตั้ง (กกต.) ในเรื่องรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ที่ระบุว่า รัฐมนตรีจะต้องไม่เป็นลูกจ้างของบุคคลใด ดังนั้น คนที่จะเป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี จะเป็นกรรมการในบริษัทใดๆ มิได้

นายเรืองไกร ระบุต่อไปว่า จากหลักฐานที่ติดตามตรวจสอบมา พบข้อสังเกตเกี่ยวกับการลาออกจากกรรมการบริษัทของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่นำมาเปรียบเทียบกับการลาออกจากกรรมการบริษัทของ นางสาวซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อพิจารณาตามแผนผังขั้นตอนที่กรมพัฒนาธุรการการค้าสรุปไว้ในเว็บไซต์ และตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็จะพบข้อพิรุธหลายประการอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในช่องการเซ็นรับรองลาออกมี 2 หน้า ซึ่งการเซ็นชื่อลาออกของ นางสาวซาบีดา จากบริษัทที่ยื่นไป เมื่อคัดมาเสร็จแล้วมันแปลกและแตกต่างจากกรณีของ นางสาวแพทองธาร ที่ออกก่อนหน้านี้ 20 กว่าบริษัท ตรงที่ นางสาวซาบีดา เป็นผู้เซ็นในเอกสารที่ไปยื่นคำขอจดทะเบียนแบบบริษัทจดทะเบียน (บจ.) กำกับไว้ทุกหน้า และเมื่อกรรมการลาออกแล้วบริษัทจะต้องประชุม 2 แบบ โดยแบบแรกเป็นการเลือกประชุมเพื่อเลือกกรรมการบริษัท และเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นไปตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าสรุปไว้

...

ดังนั้น วันนี้จึงมาย้ำและขอให้ กกต. ตรวจสอบกรณีของ นางสาวแพทองธาร ว่าการยื่นลาออกจากกรรมการจดทะเบียนประชุมกรรมการบริษัทเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและขั้นตอนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุไว้หรือไม่ โดยในการจดทะเบียนนั้น หากยื่นหนังสือไปแบบ บจ. ที่ยื่น ตารางจะเขียนคำเตือน ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137, 267 และ 268 และนายทะเบียนอาจเพิกถอนการจดทะเบียนหากปรากฏว่าข้อความอันเป็นสาระสำคัญที่ผู้ถูกจดทะเบียนไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จ หมายความว่าการขอจดทะเบียนของ นางสาวซาบีดา เทียบกับของนางสาวแพทองธาร ถูกหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องเพิกถอน

แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ

ในช่วงท้าย นายเรืองไกร ย้ำด้วยว่า การมาร้องวันนี้เป็นการทำตามสิทธิหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 41 และ 50 ไม่ได้ร้องเน้นปริมาณหรือร้องเรื่องเล็กน้อยทุกวัน ส่วนจะผิดถูกอย่างไรนั้นขอเคารพการตัดสินขององค์กรอิสระ คนที่พูดว่าทำไมจึงไม่ร้องเรื่องอื่น ขอให้สำเหนียกตัวว่าตนใช้สิทธิของตนแล้ว ถ้าใครเก่งใครเห็นอย่างไรก็ให้ใช้สิทธิร้องเอาเอง ไม่เช่นนั้นจะเหมือนว่าคนอื่นมาจ้างวานตนทำงาน ทำให้ขาดอิสระในการทำงาน.