"เพิ่มพูน-สุรศักดิ์" 2 รมต. แท็กทีม ลุกตอบคำถาม นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต่อสภา ยัน เดินหน้าโครงการ "ลดภาระครู-คืนครูสู่ห้องเรียน-แก้หนี้ครู-อาหารกลางวันเด็ก ม.1-ม.3 และจ้างนักการภารโรง"
วันที่ 4 เม.ย. เมื่อเวลา 18.56 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริง หรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152
พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจง การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ต้องขอขอบคุณ ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยัน เราทำตามนโยบายรัฐบาลสำหรับกระทรวงศึกษา เมื่อเราพบปัญหา ก็เร่งดำเนินการต่อไป 1.นโยบาย "ลดภาระครู- "คืนครูสู่ห้องเรียน" ปรับปรุงระบบการทำงาน คือการนำระบบดิจิทัล มาขับเคลื่อน เพื่อโปร่งใสใครก็สามารถเข้าไปดูได้
2 นโยบายครูคืนถิ่น คือต้องทำอย่างไร ให้มีการปรับย้ายครูสู่ถิ่น โดยทำเป็นระบบ TMS เพื่อความโปร่งใส ไร้การทุจริต
3.ปัญหาการแก้ไขหนี้สินครู โดยเราดำเนินการ วาง 9 มาตรการ ตั้งคณะทำงาน แก้ไขปัญหาหนี้ครู โดยให้ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานในการขับเคลื่อน โดยแบ่งครูออกเป็น 3 กลุ่ม เขียว เหลือง แดง
พล.ต.อ.เพิ่มพูน กล่าวต่อว่า การยกเลิกครูเวร เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินครู ซึ่ง นายกฯ และครม.มีมติ ยกเลิกครูเวรไปแล้ว ซึ่งมีการเตรียมการอยู่แล้ว โดยการจัดหา เจ้าหน้าที่หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ปกครอง และมีการจัดหาจ้างภารโรงเวร ในโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งลดภาระครูเพื่อคืนครูสู่นักเรียน ซึ่งท่านนายกฯได้ความสำคัญเรื่องนี้
โครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ เพื่อวางยุทธศาสตร์ ให้เป็นโรงเรียนแม่ โรงเรียนหลักในรัศมี 15 กิโล ทำอย่างไรให้เกิดโรงเรียนคุณภาพให้ได้
...
เรื่องนำ PISA เข้ามาทดสอบภาษาอังกฤษกับเด็กในประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา หลังมีข่าวภาษาอังกฤษเด็กไทยอยู่ในขั้นแย่
ขณะที่ นายสุรศักดิ์ พันธุ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ ลุกขึ้นชี้แจงตอบคำถาม เรื่อง นักการภารโรง ปี 2568 โดยมีการของบประมาณ และมีมติเห็นชอบจาก ครม.แล้ว ขึ้นตอนต่อไป ต้องผ่านมายังสภา และ สว. หวังว่าจะได้รับความเห็นชอบ ส่วนงบฯปี 2567 ยอมรับ มีการทำงบฯในส่วนจ้างนักการภารโรงมา แต่ไม่ได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่เป็นไรครับ
"ส่วนเรื่อง ค่าอาหารกลางวัน เด็กชั้น ม.1-ม.3 จะทำอย่างไรให้เด็กประถมกับเด็กมัธยม ได้ทานข้าวร่วมกัน ให้ได้ เพราะงบฯเดิมมีให้เด็กประถมแต่ไม่มีงบประมาณให้เด็กมัธยม ต้องขอบคุณ ครม.ที่ได้อนุมัติ อุดหนุนค่าอาหารกลางวัน ยืนยัน เราอยากทำทั้งหมดแต่งบฯมีจำกัด แต่เราก็ไม่เคยหยุดคิดที่จะทำ
ขณะเรื่องโรงเรียนคุณภาพ เกรงเลือกแต่โรงเรียนใหญ่ โรงเรียนเล็กๆ ก็จะไม่มีคุณภาพ แต่ต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่ และจุดเดินทางไปมาที่สะดวก เพราะต่อไปต้องแชร์อุปกรณ์ร่วมกัน" รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัญหาหลายอย่างเรื่องเกิดมานานแล้ว เป็นเวลานาน ทั้งเรื่องยกเลิกภารโรง เกิดมาตั้งแต่ปี 2546 จากมติ ครม.สมัยนั้น เป็นเวลากว่า 20 ปี แล้ว แต่รัฐบาลชุดนี้ก็มาแก้ปัญหาให้