"แพทองธาร ชินวัตร" หัวหน้าพรรค นำทีม "เพื่อไทย" พบ "ทูต EU" และ "ทูต 19 ประเทศจากกลุ่มประเทศ EU" บอกเล่าความคืบหน้ารัฐบาล สานสัมพันธ์ไทย-EU
วันที่ 28 มี.ค. 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร สส.ขอนแก่น และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย นายพลนชชา จักรเพ็ชร กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และนางสาวชยิกา วงศน์ภาจันทร์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าพูดคุยกับทูตจากสหภาพยุโรป และประเทศสมาชิก 18 ประเทศ ที่มีสถานทูตประจำไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญที่พรรคเพื่อไทยได้สานความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อียู และร่วมกันหารือในประเด็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการสร้างความกินดีอยู่ดีให้พี่น้องประชาชน
นางสาวแพทองธาร กล่าวถึงความคืบหน้าการทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และพัฒนาในประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ในฐานะพรรคการเมือง พรรคเพื่อไทย พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้มากที่สุด ภายในระยะเวลา 4 ปีที่ได้เป็นรัฐบาล ซึ่งในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน เปลี่ยนความฝันของผู้คนให้เป็นความจริง โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา 3 ด้าน ในฐานะรัฐบาลที่สามารถพัฒนาความมั่นคง สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ยกระดับเศรษฐกิจทั้งระบบ ในฐานะผู้แทนราษฎรที่สะท้อนความปรารถนาของประชาชนผ่านการบัญญัติกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงใหสำเร็จ ในฐานะพรรคการเมืองที่สามารถทำนโยบายที่เคยให้ไว้กับประชาชนได้สำเร็จ
ทั้งนี้ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ยังได้โอกาสสื่อสารนโยบายของพรรค เช่น ซอฟต์พาวเวอร์, 30 บาทรักษาทุกโรค, กระเป๋าเงินดิจิทัล, การท่องเที่ยว 6 ประเทศอาเซียน 1 ปลายทาง ที่มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมภายในกรอบระยะเวลา 6 เดือน ตลอดจนการพูดคุยถึงการดำเนินนโยบายในอนาคตอย่าง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชงเก้นวีซ่า ที่ทางสหภาพยุโรป จะเปิดรับการพิจารณา Visa Free ให้กับประเทศต่างๆ อีกครั้งตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
...
นอกจากนี้ ยังมีการรวมพูดคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโยปที่ให้ความร่วมมือกันมาโดยตลอดทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยในสัปดาห์หน้า (2 เมษายน) คณะรัฐมนตรีจะมีการพิจารณาอนุมัติการลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย (PCA) ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญ สำหรับความสัมพันธ์ไทยและอียู รวมไปถึงการพูดคุยความความคืบหน้าของการทำความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรปที่คาดว่าจะบรรลุข้อตกลงภายในสิ้นปี 2568
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ยังได้เน้นย้ำว่า สำหรับเมียนมา สหภาพยุโรป พร้อมจะสนับสนุนบทบาทของไทยและอาเซียนต่อไป