“นายกฯ นิด” หารือผู้บริหารภาคเอกชนชั้นนำฝรั่งเศส ทั้งด้านท่องเที่ยว แฟชั่น อาหาร ย้ำ ปี 2568 เป็นปีทองแห่งการท่องเที่ยว และไทยพร้อมจัดเทศกาลระดับโลก
วันที่ 8 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พบหารือกับผู้บริหารภาคเอกชนฝรั่งเศส โดยในช่วงเช้านี้ได้พบหารือกับเอกชนสำคัญ โดยตั้งแต่เวลา 08.50 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงปารีส) นาย Sébastien Bazin, ผู้บริหารบริษัท ACCOR Group Worldwide บริษัทชั้นนำในภาคธุรกิจการบริการ โดยเครือโรงแรม Accor เป็นเครือโรงแรมต่างประเทศใหญ่ที่สุดที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมจีนแผ่นดินใหญ่) โดยได้หารือกันเพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว Co-Promotion สนับสนุนการขาย โดย Accor Group Worldwide จะยังคงพัฒนาธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลเดินหน้าดำเนินนโยบายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทย ซึ่งบริษัทจะพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเปิดโรงแรมใหม่ในจุดหมายปลายทางอื่นๆ ของประเทศไทยเพิ่ม โดยกำลังพิจารณาหา Location และ Partner
...
จากนั้นเวลา 09.30 น. นาย Pascal Morand ผู้บริหาร Fédération de la Haute Couture et de la Mode สหพันธ์แฟชั่นและการตัดเย็บชั้นสูงเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมแฟชั่นฝรั่งเศส มีสมาชิกมากกว่า 100 สมาคม โดยได้หารือเรื่องเป้าหมายของไทยในการเป็น Southeast Asian center of fashion and design โดยทั้งสองพูดคุยเรื่องความร่วมมือในการจัดกิจกรรมร่วมกันที่กรุงเทพฯ หรือปารีส เพื่อร่วมมือระหว่างบริษัทชั้นนำ รวมถึงการจัดโปรแกรมการฝึกฝนเพื่อพัฒนา young designer และร่วมกับมหา'ลัยชั้นนำจัดหลักสูตรพัฒนา young designer ทั้งในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
เวลา 10.10 น. หารือกับผู้บริหารบริษัท Michelin ซึ่งเป็นบริษัทผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะสัญชาติฝรั่งเศส มีความเชี่ยวชาญการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเกี่ยวกับยางล้อ โดยบริษัท Michelin ลงทุนในไทยแล้ว 5 โรงงาน จ้างงาน 8 พันคน ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1 พันล้านยูโร หรือมากกว่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยใน 1 ปี บริษัทใช้ยางธรรมชาติมากกว่า 7 แสนล้านตันต่อปี และระบุว่าใน 3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มกำลังการผลิตลงทุนเพิ่มถึง 300 ล้านยูโร ทั้งนี้ บริษัทคำนึงถึงการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดในอนาคตอันใกล้ ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมให้การสนับสนุน รวมทั้งได้หารือต่อประเด็นเรื่องกฎระเบียบใหม่ (regulation) และรัฐบาลไทยพร้อมจะสนับสนุนช่วยให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
เวลา 10.50 น. นายเกว็นดัล ปูลเล็นเนค (Mr. Gwendal Poullennec), (ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำคู่มือ มิชลินไกด์ทั่วโลก (MICHELIN Guide International Director) เข้าหารือและเปิดเผยว่า Michelin guide 2024 จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว สำหรับไทยมีร้านอาหารที่ได้ 1 ดาว จำนวน 28 และร้าน 2 ดาว จำนวน 7 ร้าน โดยจากวันแรกที่ Michelin มาไทยพบว่ามีศักยภาพดีขึ้นมาก และในส่วนของร้านอาหารที่อยู่ในกลุ่มมี potential คุณภาพดี ราคาเหมาะสม มีจำนวนมาก โดยในปีนี้ มิชลินจะจัดลำดับให้กับโรงแรม ซึ่งอาหารและที่พักถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่าปีหน้า (พ.ศ. 2568) จะเป็น Golden year of tourism (ปีทองแห่งการท่องเที่ยว) และจะมีการจัดเทศกาลระดับโลก อาทิ คอนเสิร์ต แฟชั่นในไทยเอง
ต่อมาเวลา 11.30 น. นายกรัฐมนตรี หารือกับ นาง Bénédicte Épinay ผู้บริหารบริษัท Comité Colbert ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนส่งเสริมและรักษาผลประโยชน์ของแบรนด์สำคัญๆ ของฝรั่งเศส โดยสมาชิกของ Comité Colbert ประกอบด้วยสมาชิกประเภทเเบรนด์สินค้าชั้นนำ 93 เเบรนด์ สถาบันทางวัฒนธรรม 18 สถาบัน และแบรนด์สินค้าชั้นนำจากประเทศอื่นในยุโรป 6 แบรนด์ โดยองค์กรมีการจัดเสวนาและการบรรยายเพื่อต่อยอดให้เกิดความร่วมมือ และเพื่อผลิตสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเชิญประธานและสมาชิกองค์กรเยือนไทยเพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ หารือกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ร่วมมือพัฒนาสินค้าไทย นำวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าให้ตอบโจทย์ตลาดสินค้า ตลอดจนสัมผัสประสบการณ์ศิลปะและงานฝีมือไทยด้วยตนเอง
ขณะที่เวลา 12.10 น. นาย Emmanuel Perrin, Head of Specialist Watchmakers Maisons บริษัท Richemont Group ซึ่งเป็นบริษัทสินค้าประเภทแฟชั่น โดยเป็นเจ้าของแบรนด์ต่างๆ อาทิ Cartier, Chloé และ Dunhill ถือเป็นบริษัท luxury goods รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก เข้าหารือกับ นายเศรษฐา และคณะ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อให้เกิดเกี่ยวกับประเด็นคืนภาษีอากร (tax refund) ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมให้การสนับสนุน เป็นส่วนหนึ่งของ Ease of doing business (ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ)