“อานนท์" อ.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซฯ “ผู้อาวุโสสูงสุดในตระกูลอภัยวงศ์ ชี้ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ไม่ใช่ญาติ” หลังปรากฏข่าวเจ้าตัวอ้าง คุณยายเคยอาศัยในจวนของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร “พระตะบอง”
วันที่ 7 ก.พ. 2567 ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Arnond Sakworawich กรณีปรากฏข่าวว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อ้าง “คุณยายเคยอาศัยในจวนของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เมืองพระตะบอง”
ผู้อาวุโสสูงสุดในตระกูลอภัยวงศ์ ชี้ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ไม่ใช่ญาติ
เข้าใจว่า คุณคทา อภัยวงศ์ บุตรชายของคุณควง อภัยวงศ์ อายุ 88 ปี น่าจะเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุดในตระกูลอภัยวงศ์ในเวลานี้นะครับ
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นบิดาของนายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และนายควง อภัยวงศ์ เป็นบิดาของคุณคทา อภัยวงศ์
ไลน์ของคุณคทา อภัยวงศ์ที่ส่งถึงลูกหลานในห้องไลน์ของตระกูลอภัยวงศ์ กรณีของนาย Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อ้างว่าคุณยายเคยอาศัยในจวนของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่เมืองพระตะบอง มีดังนี้ครับ
“… เรื่องคุณพิธา ถ้ามีใครถาม ตอบได้เลยว่า
1. ไม่ใช่บุคคลในตระกูลอภัยวงศ์
2. การแอบอ้างว่าเคยอยู่ในตึกในภาพ เป็นการโอ้อวดสร้างภาพฐานะ ตามปกตินิสัยเขมร เพราะแม้แต่เคยอยู่ในบริเวณจวนเจ้าเมืองก็ยังไม่มี
3. ตึกที่พระตะบอง เป็นที่ทำการของฝรั่งเศส มากว่า 120 ปี คุณยายเกิดแล้วหรือยัง ….”
ผมคิดว่าเรื่องนี้อาจจะได้ข้อยุติแล้วในระดับหนึ่งนะครับ ถ้าผู้อาวุโสสูงสุดของตระกูลอภัยวงศ์ท่านออกมาสั่งลูกหลานเองเช่นนี้ครับ
โปรดช่วยกันแชร์ต่อไปให้ถึงมวลชนคอนด้อมส้มสามกีบด้วยนะครับ
...
hreedow Aphaiwongs
เรื่องคุณพิธา กับคำกล่าวที่ว่า #บ้านเก่าคุณยาย “My grandmother used to live in this house almost 1 century ago” และถ่ายภาพตึกที่เป็นของ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต้นตระกูล “อภัยวงศ์” ทำเอา 2 วันนี้ ตรีดาวและญาติๆ ชุลมุนกันมากว่าจะตอบคำถามที่มีคนมาถามว่า “เป็นญาติกันหรอ อย่างไร สายไหน”
เลยขออธิบายแบบนี้นะคะ
1. คุณยายคุณพิธา ชื่ออะไร นามสกุลเดิมอะไร
ถ้าทราบก็พอจะเชื่อมโยงได้ เนื่องจากตอนนี้หากัน(ยัง)ไม่เจอ ไม่มีใครรู้จักคุณพิธา
2. คุณยายเคยอาศัยที่บ้านหลังนี้เมื่อไร ด้วยสถานะอะไร
3. เนื่องจากตึกนี้ถูกรัฐบาลกัมพูชา ในปกครองของฝรั่งเศสยึดไปตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนไทยต้องยอมเสียมณฑลบูรพา อันได้แก่ พระตะบอง เสียมราช ศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสในสงคราม รศ.112 (พ.ศ. 2436)
4. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) อพยพครอบครัวกลับมาอาศัยที่ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2450 โดยยังไม่มีโอกาสได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังนั้น ท่านยอมกลับมาเพราะไม่ต้องการเป็นข้ารับใช้ฝรั่งเศส คนในตระกูลอภัยวงศ์ ได้รับการสั่งสอน อบรม ให้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์มาทุกชั่วอายุคน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและวางพระราชหฤทัยส่งให้บรรพบุรุษของตระกูลไปปกครองเมืองพระตะบองจนถึงสมัยที่ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนี้ไป
5. ช่วงสงครามอินโดจีน (ระหว่างปี 2484-2489) ไทยได้ดินแดนส่วนนี้ คืนมานายควง อภัยวงศ์ บุตรชายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นผู้แทนรัฐบาลไทย นำธงชาติไทยกลับไปชักขึ้นเหนือดินแดนแห่งนี้ด้วยตัวเอง จากนั่นรัฐบาลไทยส่งนายเชียด อภัยวงศ์ หลานของเจ้าพระยาฯ ไปเป็นผู้แทน ซึ่งระหว่างนั้น นายเชียด และครอบครัว ได้กลับไปใช้บ้านหลังนั้นเป็นที่ทำการอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งตอนนั้นก็ทรุดโทรมมาก (ภายหลังได้รับการบูรณะจากรัฐบาลกัมพูชา และเปิดใช้สำหรับต้อนรับแขกเมืองเท่านั้น)
6. สมัยสงครามอินโดจีน เรามีผู้แทนราษฎร จังหวัดพระตะบอง ชื่อ นายชวลิต อภัยวงศ์ และนายประยูร อภัยวงศ์ เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพิบูลสงคราม (เสียมราชในปัจจุบัน) ทั้งสองจังหวัด อยู่ในประเทศไทย
7. ถ้าคุณยายคุณพิธา อาศัยในบ้านหลังนี้ช่วง 100 ปีที่แล้ว น่าจะรู้จักกับญาติๆ อภัยวงศ์ ที่ไปเป็ยผู้แทน และทำงานให้บ้านเมืองในเวลานั้น
8. แม้คนในตระกูลจะไปอาศัยอยู่ที่บ้านหลังนั้น ก็ไม่ใช่ในฐานะเจ้าของ จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า คุณยาย ของคุณพิธา จะเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้
9. หากคุณยาย ของคุณพิธา เคยอยู่ที่นี่ และเรียกว่าเป็นบ้านของคุณยาย เราก็มีเหตุให้สงสัยว่า คุณยายเป็นใครกัน หรือพวกเราจะไม่รู้เอง คงต้องรอให้คุณพิธามาอธิบายเชื่อมโยงให้คนในตระกูลฟังซะแล้ว
(หากมีอะไรคลาดเคลื่อนไปก็คงเป็นความเขลาหรือไม่รู้ของอีชั้นเองค่ะ)