ยังพันกันอยู่ตรงนี้ หาก “ทักษิณ” ยังไม่พ้นจากการจองจำ เพราะเป็นรัฐบาลของเขาก็ย่อมที่จะหาวิธีการร้อยแปดพันเก้า

เพื่อให้ก้าวข้ามไปสู่ความมีอิสรภาพเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ล่าสุดก็มีการออกระเบียบว่าด้วยการจำคุกนอกเรือนจำ อ้างว่าเรือนจำทุกวันนี้แออัดยัดเยียด เนื่องจากมีนักโทษจำนวนมาก

จึงสร้างข้อกำหนดใหม่ นักโทษที่มีคุณสมบัติตามที่กรมราชทัณฑ์กำหนด สามารถนำตัวไปจองจำตามสถานที่ซึ่งราชทัณฑ์จะเป็นผู้กำหนดได้

เช่นบ้านพักของผู้ต้องหาก็ได้

โดยมีคณะกรรมการชุดหนึ่งเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ

จริงๆมันก็คล้ายกับการ “พักโทษ” นั่นแหละ แต่นี่เพื่อให้เร็วขึ้นจึงกำหนดวิธีการพิจารณารูปแบบใหม่

ที่กรมราชทัณฑ์สามารถพิจารณาได้เอง

เมื่อเป็นอย่างนี้แม้จะอ้างเหตุผลใดก็ตามย่อมถูกมองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ “ทักษิณ” ยากที่จะปฏิเสธได้

นี่ไงล่ะถึงบอกว่า การตัดสินใจกลับบ้านครั้งนี้ การได้อำนาจรัฐเป็นแกนนำรัฐบาล จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่แยกกันไม่ออก

แน่นอนอย่าไปถามนายกรัฐมนตรี อย่าไปถามหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ แต่จะได้คำตอบไม่ต่างกันว่าเป็นระเบียบปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรม รัฐบาลและเพื่อไทยไม่เกี่ยว

จบแบบสั้นๆ ง่ายๆ แบบนี้แหละ...ใครจะทำไม?

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นร้อนๆนี้ก็คือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ “ก้าวไกล” ยื่นให้สภาพิจารณา ปรากฏว่ามีการทำประชาพิจารณ์แล้วพบว่า ประชาชนไม่เห็นด้วยกว่า 71% แง่มุมหนึ่งน่าจะเป็นเพราะมีการเหมาเข่ง

ให้ผู้กระทำผิด ม.112 ได้รับการนิรโทษกรรมด้วย แม้ “ก้าวไกล” จะบอกว่าก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นแง่มุมหนึ่งของกฎหมายที่สภาได้พิจารณาหลากหลายขึ้น

...

เช่นเดียวกัน “เพื่อไทย” ว่าให้ถึงที่สุดแล้วไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวเท่าใดนัก เพราะผู้นำตัวจริงของพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้เรื่องนิรโทษกรรมมาดำเนินการ เพราะเขาใช้วิธีการอื่นๆที่ใกล้จะถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

แต่เนื่องจากเป็นแกนนำรัฐบาลและเป็นประเด็นการเมืองที่ไม่ยุ่งไม่ได้ จึงหาทางลงด้วยกรรมวิธีทางการเมืองด้วยการอ้างว่า เมื่อยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจึงจะเสนอเป็นญัตติ เพื่อให้สภาพิจารณาโดยไม่อยากเสนอเป็นกฎหมายคู่ขนานกัน

เหตุผลสำคัญก็คือ...

เมื่อยังไม่มีข้อสรุปในประเด็นที่มีความเห็นไม่ตรงกันก็ควรมีการอภิปรายรับฟังความเห็นให้รอบด้าน

เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก

“เพื่อไทย” ได้จัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์สลายขั้วแล้ว จึงไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก ต้องการให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

ว่าไปเหตุผลนี้เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งต้องการแยกตัวออกจากกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่อย่างใด

แค่ “ก้าวไกล” มีได้มีเสียอยู่และต้องการให้ “เพื่อไทย” สนับสนุน มิฉะนั้นกฎหมายจะไม่ผ่านสภา เนื่องจากเสียงไม่พอ

ก็อย่างนี้แหละ “อำนาจรัฐ” ฝ่ายไหนได้ไปก็ได้เปรียบทุกประตู!

“สายล่อฟ้า”

คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม