“พิธา” ตั้งคำถาม “พล.อ.อนุพงษ์” เอาบำนาญรัฐมนตรีไปตัดสินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนอื่น เป็นวิธีคิดที่ถูกต้องหรือไม่ จี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจน ชี้ สังคมสูงวัยเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มงบประมาณเพื่อรับมือ

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ ณ ที่ว่าการอำเภอแกลง จ.ระยอง พร้อมแกนนำพรรคก้าวไกล หลังเดินทางไปติดตามและให้กำลังใจ นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดระยอง ถึงกรณีการปรับเกณฑ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ว่า สำหรับกรณีเบี้ยผู้สูงอายุ เข้าใจว่าเป็นราชกิจจานุเบกษาจากกระทรวงมหาดไทย ส่งลูกให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ เป็นเรื่องใหญ่และต้องสื่อสารให้ชัดเจน เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย มีแต่จะต้องเพิ่มงบประมาณ ไม่ใช่ตัดงบประมาณดูแลผู้สูงอายุ

“สิ่งที่เขาต้องการพูดว่ามีผู้สูงอายุ 11 ล้านคน ใช้งบประมาณ 90,000 ล้านบาท เพราะยังไม่มีความชัดเจน ตอนนี้ที่เราลงพื้นที่ระยองก็ยังมีความกังวลใจกัน ความชัดเจนเท่าที่เห็น ผมอ่านจากบีบีซีไทยว่า การกระทำครั้งนี้ของรัฐบาลรักษาการ จะสามารถลดลงประมาณ 5 ล้านคน ประหยัดงบประมาณ 30,000 ล้านบาท ผมฟังแล้วผมก็รู้สึกว่าจริงๆ แล้วเรือดำน้ำก็ 30,000 กว่าล้านบาท แล้วความท้าทายในการใช้เรือดำน้ำต่อสู้แทบจะไม่มี แต่ความท้าทายของสังคมสูงวัยที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ เป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มงบประมาณรับมือสังคมสูงวัย เทรนด์โลกเป็นแบบนั้น”

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

...

นายพิธา กล่าวต่อไปว่า น่าเสียดายที่สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้เปิดและทำงานประชุมเต็มรูปแบบ ยังไม่มีกระทู้ถาม ไม่เช่นนั้นจะให้ สส.พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วันพฤหัสบดีนี้ว่า แท้จริงแล้วมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ใช้งบประมาณเท่าไร กระทบกี่คน ทำไมไม่มีงบประมาณ และจะใช้กฎเกณฑ์อะไร จะตกสำรวจหรือไม่ ทำไมสวัสดิการถ้วนหน้าไม่ต้องพิสูจน์ความจน ถึงทำไม่ได้ จึงขอฝากสื่อมวลชน เหมือนเราตั้งกระทู้กันสดๆ แบบนี้

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังได้ทิ้งท้ายตั้งคำถามถึง พล.อ.อนุพงษ์ ด้วยว่า การเอาความรู้สึกของคนเป็นรัฐมนตรีว่ามีบำนาญเท่าไร ไปตัดสินแทนพี่น้องประชาชน เป็นวิธีกระบวนการคิดที่ถูกต้องหรือไม่.