ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล หยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ซึ่งหน้าที่ ส.ส. มีอะไรบ้าง ตามรัฐธรรมนูญ เรามาทบทวนกันอีกครั้ง

  1. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หน้าที่ ส.ส. เป็นผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ และเป็นผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
  2. การพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
  3. การอนุมัติพระราชกำหนด ซึ่งพระราชกำหนดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.พระราชกำหนดทั่วไป 2.พระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรและเงินตรา
  4. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน หน้าที่ ส.ส. เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม ในการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ และเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี
  5. การตั้งคณะกรรมาธิการ
  6. การให้ความเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีรายละเอียดคือ ให้ ส.ส. มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคแจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เฉพาะจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร และต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ทั้งหมดนี้คือ หน้าที่ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอํานาจให้ใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชนโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน และมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในการเข้าไปทําหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน

...

อ้างอิงข้อมูล : เว็บไซต์รัฐสภา