ถกเสวนา 80 ปี รัฐธรรมนูญไทย ผู้ตรวจการแผ่นดินซัดยังไม่เห็นอนาคตประชาธิปไตยในไทย ชี้รัฐธรรมนูญจะมีมาตรฐานคนร่างต้องมีความรู้เรื่อง อดีตอธิการ มธ.เชื่อ มีนักการเมืองพยายามอ้างประชาชนแต่ดึงอำนาจไปไว้กับมือตัวเอง ด้าน อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ระบุ อำนาจกำลังไหลจากชั้นบนสู่ข้างล่าง แนะถอยทั้งสองฝ่ายจะได้จบ

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง 80 ปี รัฐธรรมนูญไทยกับก้าวต่อไปของประชาธิปไตย นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และมีผู้สนใจเข้าร่วมงานอย่างกว้างขวาง โดยนายศรีราชา กล่าวว่า วันนี้กับก้าวต่อไปของประชาธิปไตยเรายังห่างจากเป้าหมาย ไร้อนาคต เรากำลังจะทำอะไรเตรียมไว้บ้างหรือไม่ เรารู้สึกว่าประเทศไทยบอยู่ในมือของนักการเมืองที่ทำอะไรก็ได้ แต่ไม่มีทิศทางแผนที่ทางชัดเจนสะเปะสะสะปะ ซึ่งนี่คือความรู้สึก และร่าง รธน.ฉบับนี้ถามว่าเป็น รธน.ที่เหมาะสมกับระบบการปกครองประเทศเราหรือเปล่า เราได้มีการส่งคนไปศึกษาต่างประเทศที่ได้เห็น แต่การนำสิ่งที่พบเห็นบางครั้งมันอาจจะเร็วเกินไปไม่เหมาะสม การที่ปฏิวัติรัฐธรรมนูญ 2475 เดินระหกระเหินมาเรื่อยไม่มีความพร้อม การปกครองที่เหมาะสมควรจะทำวิเคราะห์วิจัยหาความรู้ ประเทศที่เจริญหลายประเทศไม่ได้ยึดถือระบอบประชาธิปไตย พื้นฐานของคนต้องตอบสนองกลมกลืนกันได้ เราถูกคำว่าประชาธิปไตยมาหากินกันเยอะโดยมีคนบอกว่าเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ เราติดในเรื่องรูปแบบมากกว่าเนื้อหา เวลานี้คนในสังคมยังคิดว่าเป็นการเดินไปเลือกตั้งคือการไปหย่อนบัตรแล้วก็จบ

“ประชาธิปไตย ตอนนี้คือการเป็นประชาธิปไตยข้างถนน แต่ก็สามารถทำได้ให้อยู่ภายใต้กฎหมาย แต่คนที่เรียกร้องสิทธิ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองอย่างถูกต้อง การร่าง รธน.ต้องมีหลักมาตรฐานมั่นคง รธน.จะดีหรือไม่นั้นผู้ร่างเป็นคนสำคัญ รธน.เป็นกฎหมายเชิงเทคนิค การจะร่างโดยความไม่รู้เรื่องผมว่าเป็นเรื่องตลก ส่วนการที่มาจากตัวแทนที่เป็นคนต่างจังหวัดก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะดีหรือ ไม่ เป็นปัญหาหนักอยู่ 2 เรื่อง คือความจนของประชาชน ทุกคนเอาเรื่องนี้มาหาเสียงกันเยอะ แต่ถามหน่อยว่าในรอบ 80 ปีที่ผ่านมาเคยรวยไหม ส่วนเรื่องที่ 2 เรื่องความด้อยการศึกษาคนที่จะอยู่ในระบอบนี้ได้ต้องคิดได้วิเคราะห์เป็น จะแก้เรื่องโง่เรื่องจนต้องเป็นพิมพ์เขียวในการแก้ รธน.  แต่รัฐธรรมนูญตามที่ผมอยากได้นั้นมีความเห็นให้ผ่านเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ส่วนฉบับใหม่นั้นคงไม่คาดหวังอะไร” นายศรีราชา กล่าว

ด้าน นายสุรพล กล่าวว่า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า 2475 จะเป็นเรื่องอะไรบางอย่าง แต่ก่อนหน้านั้นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจ แต่ตอนนั้นคือการดึงอำนาจจากกษัตริย์ไปสู่อำมาตย์ จุดเปลี่ยนที่ 2 คือการเปลี่ยนจากอำมาตย์ไปสู่คนอื่นมาจากเหตุการณ์ 2516 เป็นการดึงจากทหาร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปสู่นักการเมืองพลเมือง เราจะเห็นชนชั้นใหม่ขึ้นมาเป็นนักการเมืองขึ้นมาก เกิดเป็นจุดเริ่มต้นคือเมื่อปี 2535 ความไม่ไว้วางใจในการปฏิรูปการเมืองต่อมา รธน.50 พยายามตัดเรื่องตรงนี้ให้หมดคือการตัดคนที่จะเข้ามาแทรกแซง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพยายามการแก้ไขใหม่ ถ้ามองจากแนวความคิดหรือการช่วงชิง คนเหล่านี้เขาไม่ได้ดึงอำนาจกลับไปที่ตัวเอง แต่ไปฝากกับองค์กรอิสระ การมีความพยายามแก้อำนาจในขณะนี้คือพยายามจะทำอยู่คือการช่วงชิงดึงอำนาจ กลับไปสู่ฐานที่อธิบายว่าเป็นอำนาจของประชาชนทั้งหลาย

“อำนาจพวกนี้ ไม่ใหญ่ไปกว่าของอำนาจประชาชน เรารู้กันมาหลายพันปีแล้วว่าอำนาจการใช้โดยตรงนั้นทำไม่ได้ เขาหมายความว่าให้ไว้วางใจในผู้แทนเลือกมา สถานการณ์ปัจุบันเราก็ยังไม่มีหลักประกันอะไรที่จะประกันว่าไม่เกิดบุปเฟ่คา บิเนต วันนี้เป็นเรื่องของความพยายามที่จะดึงอำนาจกลับ คราวนี้มีความพยายามที่จะต้องมีองค์กรอะไรก็ได้ เพราะเป็นแนวคิดที่ประชาชนเป็นใหญ่ แนวทางที่ทำอยู่ขณะนี้ไม่ใช่แนวทางที่จะเป็นประชาธิปไตยจริงๆ เบื้องหลังเป็นแค่นักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังต้องการอำนาจรัฐเท่านั้น” นายสุรพล กล่าว

ด้าน นายอเนก กล่าวว่า คนไทยนั้นปกตินับถือพระกับเจ้า เหมือนเป็นคนอนุรักษ์แต่อีกมุมก็เป็นคนที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เมื่อปี 2475 ก็เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่พอมาช่วงหลังก็เกลียดทหารกันอีกแล้ว ที่สุดแล้วก็กลายเป็นระบอบทหารแล้วเราก็ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ อำนาจของประไทยของเรากำลังไหลลงจากคนชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นล่าง แต่ละช่วงของเหตุการณ์ก็เป็นไปด้วยความแตกแยก รุนแรง ก้าวร้าว อำนาจมันไหลลงเป็นหลัก เราก็ได้เห็นคนชั้นกลางเป็นผู้มามีอำนาจ ซึ่งนี่เป็นความคิดของคนขั้นกลาง และประเทศไทยก็ไม่ได้มีแต่คนชั้นกลางและการเมือง ตอนนี้มีคนชั้นล่างที่กำลังยกระดับมาเป็นชั้นกลาง

“ตอนนี้ทุกอย่างใน ประเทศไทยเป็นอนิจจัง ถ้ามองมองแบบสุดขั้วคือชนบทตอนนี้ก็ไม่เหลือแล้ว เขามีความคิดต้องการที่คล้ายๆ คนชั้นกลาง ทุกคนช่วยสร้างประวัติสร้างแต่ต้องรับฟังการและกัน พยายามคิดด้วย ความคิดของคนชั้นล่างประชาชนอาจจะเปลี่ยนมากกว่าที่เราคิด เวลานี้อารมณ์ของสังคมกำลังเหวี่ยงกลับ ในฐานะที่ผมเข้าใจทั้งฝ่าย การยอมถอยบ้างทั้งสองฝ่ายมันก็จำเป็น เราไม่เคยปรองดองกันได้เลยเรื่องรัฐธรรมนูญ การเขียนรัฐธรมนูญอย่าสุดขั้ว แก่งแย่งแข่งขันกันได้และต้องยอมได้บ้าง เปิดรับคนใหม่ๆ เข้ามาสู่การเมืองได้ ในที่สุดเราจะแข่งขันกันประชันผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแปลกอะไร การจะฉลาดนั้นต้องเป็นเรื่องที่ปรองดองบนหลักการที่ฉลาด” นายอเนก กล่าว.

...