ราชกิจจานุเบกษา เผยประกาศ กกต. แบ่ง 400 เขตเลือกตั้ง จำนวณจากราษฎรเฉลี่ย 1.62 แสนคนต่อ ส.ส. 1 คน

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ลงนามโดย นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีเนื้อหาว่า

ด้วยได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบข้อ 46 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 และประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ดังนี้

1. ราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีจำนวน 65,106,481 คน
2. จำนวนราษฎรโดยเฉลี่ย 162,766 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 1 คน
3. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 1 คน จำนวน 1 เขตเลือกตั้ง รวม 4 จังหวัด ได้แก่

  • ตราด
  • ระนอง
  • สมุทรสงคราม
  • สิงห์บุรี

จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 2 คน จำนวน 2 เขตเลือกตั้ง รวม 10 จังหวัด

...

  • ชัยนาท
  • นครนายก
  • พังงา
  • มุกดาหาร
  • แม่ฮ่องสอน
  • ลำพูน
  • สตูล
  • อ่างทอง
  • อำนาจเจริญ
  • อุทัยธานี

จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 3 คน จำนวน 3 เขตเลือกตั้ง รวม 21 จังหวัด

  • กระบี่
  • จันทบุรี
  • ชุมพร
  • ตาก
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • พะเยา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • เพชรบุรี
  • แพร่
  • ภูเก็ต
  • ยโสธร
  • ยะลา
  • สมุทรสาคร
  • สระแก้ว
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อุตรดิตถ์


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 4 คน จำนวน 4 เขตเลือกตั้ง รวม 8 จังหวัด

  • กำแพงเพชร
  • ฉะเชิงเทรา
  • ตรัง
  • นครพนม
  • ลำปาง
  • เลย
  • สระบุรี
  • สุโขทัย


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 5 คน จำนวน 5 เขตเลือกตั้ง รวม 9 จังหวัด

  • กาญจนบุรี
  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พิษณุโลก
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ลพบุรี
  • สุพรรณบุรี


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 6 คน จำนวน 6 เขตเลือกตั้ง รวม 4 จังหวัด

  • กาฬสินธุ์
  • นครสวรรค์
  • เพชรบูรณ์
  • มหาสารคาม


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 7 คน จำนวน 7 เขตเลือกตั้ง รวม 5 จังหวัด

  • ชัยภูมิ
  • เชียงราย
  • ปทุมธานี
  • สกลนคร
  • สุราษฎร์ธานี


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 8 คน จำนวน 8 เขตเลือกตั้ง รวม 4 จังหวัด

  • นนทบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • สมุทรปราการ
  • สุรินทร์


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 9 คน จำนวน 9 เขตเลือกตั้ง รวม 2 จังหวัด

  • ศรีสะเกษ
  • สงขลา


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 10 คน จำนวน 10 เขตเลือกตั้ง รวม 5 จังหวัด

  • ชลบุรี
  • เชียงใหม่
  • นครศรีธรรมราช
  • บุรีรัมย์
  • อุดรธานี


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 11 คน จำนวน 11 เขตเลือกตั้ง รวม 2 จังหวัด

  • ขอนแก่น
  • อุบลราชธานี


จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. 16 คน จำนวน 16 เขตเลือกตั้ง รวม 2 จังหวัด

  • นครราชสีมา


ส่วนของพื้นที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือ 33 คน จำนวน 33 เขตเลือกตั้ง คือ กรุงเทพมหานคร

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมในส่วนของวันเลือกตั้ง ถูกกำหนดโดย กกต. คือ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 และผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าทั้งนอกและในเขตเลือกตั้ง สามารถไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนได้ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ซึ่งในช่วงสัปดาห์ดังกล่าวยังเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงวันฉัตรมงคล (4 พฤษภาคม) โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ จะทำให้มีวันหยุดยาวติดต่อกัน 4 วัน คือตั้งแต่ 4-7 พฤษภาคม 2566.