ผนึกกําลังเครือข่ายทุกภาคส่วนกว่า 50 องค์กร ยกระดับแอปพลิเคชันรายงานผลคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 ครั้งแรกกับเทคโนโลยี Crowdfunding ระดมทุนเพื่อสนับสนุนอาสาสมัคร 1 แสนคน รายงานผลคะแนนเลือกตั้งจากทุกหน่วยเลือกตั้งแบบเรียลไทม์

วันที่ 21 มี.ค. ผนึกกําลังเครือข่ายทุกภาคส่วนกว่า 50 องค์กร ยกระดับแอปพลิเคชันรายงานผลคะแนนเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 ครั้งแรกกับเทคโนโลยี Crowdfunding ระดมทุนเพื่อสนับสนุนอาสาสมัคร 100,000 คน รายงานผลคะแนนเลือกตั้งจากทุกหน่วยเลือกตั้ง 95,000 หน่วย แบบเรียลไทม์ เริ่มรายงานผลการนับคะแนนแต่ละหน่วยเลือกตั้งจากทุกเขต หลังปิดหีบเลือกตั้ง ประมาณ 17.15 น. เป็นต้นไป

โดยตั้งเป้าหมายในการทํางานอาสาสมัครร่วมกันของทุกเครือข่าย พยายามทุกวิถีทางให้ทราบแนวโน้มผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการในเบื้องต้นรอบแรก ประมาณ 2 ชั่วโมง หลังปิดหีบเลือกตั้ง 17.00 น. คาดว่าในเวลาไม่เกิน 19.00 น. น่าจะทราบแนวโน้มสัดส่วนคะแนนแบบ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ของแต่ละพรรค และในเวลาไม่เกิน 21.00 น. น่าจะทราบแนวโน้มคะแนนเสียงของผู้สมัคร ส.ส.เขตที่มีคะแนนนําอันดับหนึ่งในทุกเขต 400 เขต

การเลือกตั้งครั้งใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2566 มีความสําคัญอย่างยิ่ง ในการกําหนดอนาคตประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันการรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง (อย่างไม่เป็นทางการ) ไปใช้ระบบ ECT Report ที่ไม่ใช่แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเริ่มทราบผลการเลือกตั้งประมาณ 23.00 น. ส่งผลทําให้สื่อที่จะต้องรายงานผลการเลือกตั้งอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อช่วยให้การเลือกตั้งเกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ได้รับเสียงเรียกร้องจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ให้ช่วยกันหาทางออก ร่วมมือกันสร้างระบบการรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งจากหน้าคูหาเลือกตั้ง อย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์เช่นเดิม

...

ตลอดช่วงกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา สื่อหลายๆ สํานัก โดย สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย), สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสื่ออิสระ รวมกว่า 34 สํานัก ได้ร่วมกันหารือกับองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมฟินเทค ประเทศไทย, สมาคมเมตาเวิร์สไทย, D-Vote, โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw), Vote62, WeWatch, Opendream, CoFact และ ดร.ลอย ชุนพงษ์ทอง ฯลฯ ระดมสมองอย่างเข้มข้น หาแนวทางการทํางานในรูปแบบภาคีเครือข่าย และการใช้เทคโนโลยีในการระดมทุน ในรูปแบบ Crowdfunding, Crowdsourcing เพื่อช่วยกันระดมอาสาสมัครให้ได้ตามเป้าหมาย 100,000 คน ประจําทุกหน่วยเลือกตั้งประมาณ 95,000 หน่วยเลือกตั้ง ทั้งตรวจสอบ จับตา และรายงานผลคะแนนเลือกตั้งทันที เมื่อปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. จนทําให้เกิดการพัฒนาอีกระดับของแอปพลิเคชันรายงานผลคะแนนเลือกตั้งแบบ Realtime และ Final Score ที่เคยนํามาทดสอบการใช้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2565 มาแล้ว

ทีมงานเทคโนโลยีได้พัฒนาระบบเชื่อมต่อเครือข่ายอาสาสมัครจากหลายๆ องค์กรให้สามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการมอบหมายหน้าที่อาสาสมัครในวันเลือกตั้ง ระหว่างการรายงานผลคะแนนแบบ Realtime และ Final Score รวมทั้งการถ่ายภาพกระดานนับคะแนน และใบรับรองผลการนับคะแนน ส.ส. 5/18 ในแต่ละหน่วย เพื่อส่งเข้ามาเก็บไว้ในระบบ Cloud และ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบในภายหลังได้

คณะทํางานของสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยังได้ออกแบบระบบการรับสมัครอาสาสมัคร และระบบการบริหารอาสาสมัครร่วมกันกับเครือข่ายต่างๆ เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการระดมทุนแบบ Crowdfunding และ Crowdsourcing ที่ออกแบบโดย D-Vote ภายใต้การทํางานร่วมกับ สมาคมฟินเทค ประเทศไทย และ สมาคมเมตาเวิร์สไทย โดยหลักการการเปิดรับสมัครอาสาสมัครของแต่ละเครือข่ายและองค์กร ยังเป็นอิสระต่อกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประชาสัมพันธ์ไปตามภารกิจของแต่เครือข่าย ที่แต่ละองค์กรจะเห็นสมควร

การระดมทุน Crowdfunding ตั้งเป้าหมายเงินบริจาคจากผู้ต้องการสนับสนุนการเลือกตั้งและส่งเสริมประชาธิปไตย ไว้ประมาณ 12 ล้านบาท เพื่อนํามาใช้ในการพัฒนาระบบรายงานผลคะแนนเรียลไทม์ และระบบบริหารอาสาสมัครที่มีขนาดใหญ่มาก

ส่วน Crowdsourcing จะอยู่ในรูปแบบสิ่งของกับบริการต่างๆ ที่ได้จากผู้สนับสนุน เพื่อใช้เป็นการตอบแทนหรือ Reward ให้รางวัลกับผู้บริจาคและอาสาสมัครในการรายงานผลคะแนน ที่ตั้งเป้าหมายระดมอาสาสมัครไว้ 100,000 คน โดยจะส่งมอบในรูปแบบของ NFT หรือ Token ให้กับผู้บริจาคเงิน ผู้สนับสนุน และอาสาสมัครตั้งแต่เริ่มบริจาค หรือลงทะเบียนสมัครเข้ามาเป็นอาสา โดยจะขอเรียกรวมๆ ว่าเป็น "ดิจิทัลคูปอง" เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในการนําไปใช้แลกสินค้า หรือบริการส่วนลด ที่ผู้สนับสนุนแจ้งความจํานงเข้ามา ในระยะเวลาดําเนินโครงการหรือภายหลังได้ ปฏิบัติภารกิจรายงานผลคะแนนเลือกตั้งเสร็จแล้ว
ในส่วนการบริหารอาสาสมัครได้ออกแบบไว้ 3 ระดับ เพื่อให้การรายงานผลคะแนนเลือกตั้งเป็นไปอย่างครอบคลุมทุกหน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนเข้าระบบประมวลผลในศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้งได้อย่างถูกต้องมากที่สุด

ระดับที่ 1 อาสาสมัครประจําหน่วยเลือกตั้ง 400 เขต ที่มีหน่วยเลือกตั้งรวมประมาณ 95,000 หน่วย ที่ตั้งเป้าจะมีอาสาสมัครประมาณ 100,000 คน ประจําทุกหน่วยเลือกตั้ง

อาสาสมัครหลักในระดับหน่วยเลือกตั้งในทุกๆ คูหา จะมาจาก สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดประเทศไทย, สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และ สมาคมองค์การบริหารส่วนตําบลแห่งประเทศไทย ที่กระจายกันทุกจังหวัด ทุกเทศกาล และทุกตําบล ที่มีหน่วยเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านมากกว่า 80,000-90,000 หมู่บ้าน

นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ เพราะพรรคการเมืองทุกพรรคมีอาสาสมัครของพรรค ประจําอยู่ในทุกหน่วยเลือกตั้งอยู่แล้ว พรรคที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการนี้แล้วคือ พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคก้าวไกล, พรรคไทยสร้างไทย, พรรครวมไทยสร้างชาติ

โดยโครงการนี้ยังเปิดกว้างรับสมัครอาสาสมัครจากทุกพรรค ที่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจําหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อช่วยกันทําให้การรายงานผลคะแนนเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น รวมทั้งอาสาสมัครอิสระภาคประชาชน จากภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันคือ iLaw, Vote62, WeWatch ฯลฯ และอาสาสมัครอิสระภาคประชาชนที่เป็นผู้สนใจ จะมีส่วนร่วมทางการเมือง ทํางานอาสาสมัครโครงการนี้ ที่สามารถสมัครโดยตรงกับภาคีเครือ ข่าย และผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ได้ เพื่อให้แต่ละเขตเลือกตั้งที่มีหน่วยเลือกตั้งประมาณ 200-250 หน่วยเลือกตั้ง มีอาสาสมัครจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมรายงานการนับคะแนนเลือกตั้งแต่ละเขตให้มากที่สุด

ส่วนในพื้นที่เลือกตั้งกรุงเทพมหานคร 33 เขต ทางกรุงเทพมหานครจะให้ความร่วมมืออํานวยความสะดวก ในการรายงานคะแนนเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ประมาณ 6,500 คน ที่ประจําอยู่ในทุกคูหาเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ผลคะแนนเลือกตั้งอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความจํานงเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจําหน่วยเลือกตั้งด้วย โดยจะส่งอาสาสมัครประจําหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้ง ใกล้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือมัธยมปลายทั่วประเทศ มีความสนใจจะร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ที่เป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ด้วยการให้นักศึกษาและนักเรียนมัธยมปลาย เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครประจําหน่วยเลือกตั้ง ยังสามารถแจ้งความจํานงมาได้ทุกจังหวัด

ระดับที่ 2 อาสาสมัครหัวหน้าเขตเลือกตั้ง 400 เขต และทีมงานที่จะมีการทํางานประสานงานกับสํานักงาน กกต.เขต และ กกต.จังหวัด ในการรับคะแนนที่เจ้าหน้าที่ กกต.เขตกรอกเข้าไปในระบบ ETC Report อาสาสมัครในระดับที่ 2 จะมีแนวทางการทํางานร่วมกับบุคลากรในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในพื้นที่ต่างๆ, มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีวิทยาเขตกระจายอยู่ทั่วประเทศ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยจะประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และนักศึกษาของแต่ละสถาบัน เข้าร่วมโครงการฯ ในฐานะหัวหน้าเขต เพื่อบริหารอาสาสมัครใน 400 เขต

ระดับที่ 3 อาสาสมัครศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้ง (Election Day War Room)
วอร์รูมจะทําหน้าที่ในการรวมศูนย์การส่งคะแนนจากอาสาสมัคร 400 เขต เข้ามาจากอาสาสมัคร 100,000 คน เพื่อกลั่นกรองและตรวจสอบคะแนนให้ถูกต้องมากที่สุด ก่อนส่งเข้าระบบประมวลผลกลางของโครงการ ที่เชื่อมต่อไปยังสํานักข่าวต่างๆ ที่ร่วมโครงการประมาณ 34 สํานัก เพื่อเผยแพร่ออกทุกช่องทางของสื่อต่างๆ โดยกองบรรณาธิการแต่ละสื่อ สามารถตัดสินใจอย่างอิสระในการเลือกนําเสนอผลคะแนนเลือกตั้งในแต่ละเขต และแสดงผลคะแนนในรูปแบบกราฟฟิกต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแข่งขันในการนําเสนอให้น่าสนใจ ตามแนวทางหรือสไตล์ของแต่ละสํานักข่าว บนฐานข้อมูลคะแนนเดียวกันที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว

ศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้ง (Election Day War Room) จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มีประสบการณ์ในการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งมาหลายครั้งแล้ว โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมจะลงทุนติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 100 เครื่อง และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในศูนย์ปฏิบัติการวันเลือกตั้งภายในมหาวิทยาลัยศรีปทุม

สรุปรายชื่อสื่อโทรทัศน์, สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ที่แสดงความจํานงเข้าร่วมโครงการรายงานผลคะแนนเลือกตั้ง 2566 (อย่างไม่เป็นทางการ) โดยความร่วมมือและบริหารโครงการโดย 2 สมาคมหลัก คือ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) และ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์.