“ตรีนุช” แจง กลางสภา ศธ.ห่วง เด็กหลุดนอกระบบการศึกษา ยอมรับ โควิด-19 เป็นสถานการณ์ไม่มีใครคาดคิด ที่ผ่านมาเร่งฉีดวัคซีนกันโควิด ให้เด็กและครู ยัน รัฐบาล เร่งช่วยเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โครงการ พาน้องเข้าห้องเรียน
วันที่ 2 มิ.ย. ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 17.30 น. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ชี้แจง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) วงเงิน 3.18 ล้านล้านบาท ว่า การพัฒนาเด็ก ให้หลากหลาย จากสถานการณ์โควิด-19 ยอมรับว่า เป็นสถานการณ์ ไม่มีใครคาดคิด รัฐบาลพยายามทำอย่างไรให้เด็กเข้าถึงการศึกษา รัฐบาลมีการเร่งฉีดวัคซีนให้เด็กและครู ให้สามารถเปิดการเรียนการสอน เพื่อเป็นสถานที่ปลอดภัยได้ ทำอย่างไรให้เด็กและคุณครูเข้าถึงการเรียนการสอนให้มากที่สุด อย่าง 5 ออน มีการจัดสรรงบประมาณเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท เท่ากันทุกคน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน วันนี้ เราทำให้สามารถเปิดการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ แต่เรื่องที่กังวล คือ เรื่องเด็กที่ตกหล่นจากระบบ ผู้ปกครองมีการเดินทางโยกย้ายจำนวนมาก ห่วงเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา กระทรวง ศธ.มีการเซ็นเอ็มโอยู กับ กระทรวงมหาดไทย กลับคืนระบบเร็วที่สุด ในโครงการพาน้องเข้าห้องเรียน เรามีการตามหาน้องและนำน้องกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานบางส่วน บางกลุ่มก็มีปัญหาความยากจน ตามเจอก็กลับมาเข้าสู่ระบบการศึกษาไม่ได้
...
น.ส.ตรีนุช กล่าวอีกว่า เรามีการเตรียมสถานที่ เร่งด่วน 88 แห่ง กลุ่มอาชีวะ รองรับน้องๆ กลุ่มนี้กว่า 5 พันคน จากสถานการณ์โควิด เรากังวลทำอย่างไร ให้เขากลับเข้าสู่ที่เรียนให้เร็วที่สุด ปัญหาเรื่องเด็กไม่ได้มาโรงเรียนนาน ตรงนี้ ศธ.เน้นย้ำ การเปิดภาคเรียนไม่ได้เร่งรัดการเรียนซะทีเดียว แต่ต้องการให้เด็กรู้สึก กลับมาแล้วเป็นสถานที่ปลอดภัย
"อัตราการเกิด ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างปีนี้ เหลือเพียง 550,000 คนต่อปี อัตราการเกิดลดลง โรงเรียนขนาดเล็ก มีเด็กต่ำกว่า 150 คน ถึง 3 หมื่นโรงเรียน เราจึงมีการทำเครือข่ายตำบลขึ้น ในรัศมี 4-6 กม. เช่นโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถแบ่งน้องๆ มาเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ ที่ใกล้กัน เด็กจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรโรงเรียนที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลมีการสนับสนุนค่าใช้จ่าย" น.ส.ตรีนุช กล่าว...