"บิ๊กตู่" พอใจดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานเป็นครั้งแรก ที่ 50.8 ฝากผู้ประกอบการเฝ้าระวังโควิด-19 ในสถานประกอบการ หวั่น เป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่น

วันที่ 24 ธ.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจรับทราบรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME เดือน พ.ย. 2564 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 50.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินระดับค่าฐานที่ 50 เป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ เม.ย. 64 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นฯ ผู้ประกอบการ SME รายภูมิภาค ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.1 มาอยู่ที่ 52.1 ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนปรนให้มีการดำเนินธุรกิจมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการและธุรกิจรายย่อย

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายงานดัชนี SME ภาคการผลิต การค้า การบริการ และธุรกิจการเกษตร เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.4, 49.5 , 51.1 และ 57.2 ตามลำดับ โดยภาคการบริการ มีการปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาบริการการท่องเที่ยว การขนส่งมวลชน (ไม่ประจำทาง) บริการเสริมความงาม สปา นวดเพื่อสุขภาพ ร้านอาหาร บริการสันทนาการ วัฒนธรรม กีฬา และโรงแรม และ ที่พัก ขณะที่ ภาคการบริการ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคธุรกิจอื่นๆ ทั้งดัชนีด้านคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต การค้า บริการ การลงทุน กำไร และการจ้างงาน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.7 53.0 52.5 52.6 และ 50.5 ตามลำดับ เป็นผลเนื่องมาจากนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2564

...

นายธนกร ยังกล่าวถึงการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 58.1 จากแนวโน้มการขยายตัวของยอดขายสินค้าและการให้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานให้หมั่นประเมินและปรับปรุงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เพื่อเสริมแกร่งให้กลุ่มธุรกิจสามารถฟื้นตัว และกลับมาเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งล่าสุด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม อนุมัติสินเชื่อพิเศษ “ดีพร้อมเปย์” กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และต่อยอดธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เข้าร่วมโครงการฯ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังฝากถึงผู้ประกอบทุกไซส์ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ต้องเคร่งครัดมาตรการควบคุมโควิด-19 ป้องกันการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ เพราะจะเป็นปัจจัยลบส่งผลต่อกำลังการผลิตและความเชื่อมั่นด้วย