ศบค. เผยข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 99.58% สายพันธุ์โควิดในไทยยังเป็นเดลตา ส่วนโอมิครอนคิดเป็น 0.23% ห่วงคลัสเตอร์ร้านหมูกระทะและตลาด หลังพบรายงานติดเชื้อต่อเนื่อง

วันที่ 15 ธ.ค. 2564 แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ พทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวในช่วงหนึ่งกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน หรือ โอไมครอน (Omicron) ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่า 11 ราย แต่ในจำนวนนี้มี 3 ราย ยังอยู่ในระหว่างการยืนยันสายพันธุ์ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม

สำหรับสกานการณ์สายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ขณะนี้มากที่สุดยังเป็นสายพันธุ์เดลตา (Delta) 99.58% ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 0.23% สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) 0.17% และสายพันธุ์เบตา (Beta) 0.02%

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อด้วยมาตรการส่วนบุคคล คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ และไม่ควรไปอยู่ในสถานที่แออัด

...

แพทย์หญิงสุมนี ระบุต่อไปถึงคลัสเตอร์โควิดที่ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • คลัสเตอร์โรงงานและสถานประกอบการ ปราจีนบุรี ระยอง ขอนแก่น
  • คลัสเตอร์ตลาด จันทบุรี สระแก้ว ลพบุรี
  • คลัสเตอร์ค่ายทหาร ประจวบคีรีขันธ์
  • คลัสเตอร์งานศพ นราธิวาส ขอนแก่น
  • คลัสเตอร์ร้านอาหาร กรุงเทพมหานคร สุราษฎร์ธานี


อย่างไรก็ตาม ศบค. มีความห่วงใย โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน หรือ คลัสเตอร์ อาจจะพบมากขึ้นในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวได้ สำหรับกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังมาก คือ ตลาดและร้านอาหาร ซึ่งตลาดอาจจะมีการจับจ่ายกันมากขึ้นในช่วงวันหยุด ส่วนร้านอาหารที่มีการรายงานอย่างต่อเนื่องคือ ประเภทร้านหมูกระทะ อาจจะมีปัจจัยเสี่ยงจากการรับประทานร่วมกันและใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม เน้นย้ำในเรื่องของการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด รวมถึงขอให้เข้ารับการฉีดวัคซีนด้วย.