ส.ว. “สถิตย์” อภิปรายวาระรายงานสรุปผลดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจําปี 62 เสนอแนะวิสาหกิจเพื่อสังคม เสริมสร้างเศรษฐกิจ ควบคู่พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 30 มิ.ย. 2563 ในการประชุมวุฒิสภา พิจารณาวาระรายงานสรุปผลดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจําปี 2562 ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายในช่วงหนึ่งว่า ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งของวิสาหกิจเพื่อสังคม คือ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ดําเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหรือการแพทย์แผนไทย สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านจากการรับซื้อสมุนไพร ในขณะเดียวกันช่วยทําให้พื้นที่ที่เคยแห้งแล้งกลายเป็นผืนป่าสมุนไพร ได้ทั้งรายได้ของชาวบ้าน ได้ทั้งสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ได้ท้ังผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ หากกิจการของมูลนิธิฯ เจริญเติบโตมากขึ้น ชาวบ้านก็มีรายได้มากขึ้น ผืนป่าสมุนไพรก็ยิ่งขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้ง มูลนิธิฯ ยังแบ่งผลกําไรร้อยละ 70 มอบให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชน ส่วนอีกร้อยละ 30 นํากลับมาใช้ในการพัฒนาสมุนไพร และดําเนินกิจการเพื่อสังคมให้ขยายตัวมากขึ้น
ดร.สถิตย์ อภิปรายต่อไปว่า ปัจจุบันนี้สถานการณ์โลกและสถานการณ์ภายในประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว จําเป็นต้องปรับการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อเสนอแนะดังน้ี
1. ควรเร่งผลักดันและกําหนดเวลาที่ชัดเจนในการออกกฎหมายลําดับรอง ภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ.2562 ดังนี้
- หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตามมาตรา 59 (2) และ มาตรา 63
- หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตรานําส่งเงินสมทบเข้ากองทุนของวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา 13 และความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนตามมาตรา 59 (1)
- หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ ตามมาตรา 59 (3)
...
2. ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา 46 พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ.2562 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3. พัฒนาตลาดการลงทุนทางสังคม (Social Investment Market) เพื่อเป็นระบบการลงทุนในรูปแบบใหม่ที่เป็นทุนเพื่อสังคม ซึ่งจะให้ผลตอบแทนทั้งทางการเงิน (Financial Return) และผลตอบแทนทางสังคม (Social Return) โดยการมีส่วนร่วมได้จากทุกภาคส่วน อาทิ กิจการเงินร่วมลงทุนทางสังคม (Social Venture Capital) การออกพันธบัตรเพื่อสังคม (Social Impact Bond) และสลากเพื่อสังคม (Social Lottery) เป็นต้น
4. ควรกําหนดเป้าหมายของความสําเร็จของวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ จํานวนวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จัดตั้งขึ้น ภายในระยะเวลาที่กําหนด จํานวนผู้ได้รับประโยชน์จากการดําเนินการของวิสาหกิจเพื่อสังคม ภายในระยะเวลาที่กําหนด สัดส่วนการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (Economic Contribution) เป็นร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ภายในระยะเวลาที่กําหนด
5. เพื่อให้การปฏิรูปเศรษฐกิจโดยกลไก “วิสาหกิจเพื่อสังคม” มีความเด่นชัดและมี ระดับความสําคัญที่สูงขึ้น เห็นควรปรับเปลี่ยนชื่อเรื่องและประเด็นปฏิรูปที่ 41 ในแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ จากการจัดตั้งกองทุน Social Investment Fund (SIF) เป็นการปฏิรูปวิสาหกิจเพื่อสังคม
อย่างไรก็ตาม ดร.สถิตย์ หวังว่าผลของการปฏิรูปวิสาหกิจเพื่อสังคมจะส่งผลให้แนวคิดเศรษฐกิจกระแสใหม่ว่าด้วยเศรษฐกิจเพื่อสังคม ได้รับการยอมรับ และนําไปปฏิบัติ เพื่อทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดล้อมอย่างยั่งยืน.