“รัชดา” ชี้แจง เรื่อง “CPTPP” หวังให้เข้าใจจุดยืนรัฐบาล ชี้ “บิ๊กตู่” สั่งการเร่งศึกษาผลดีและผลเสียอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะร่วมหรือไม่

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 19 มิ.ย. 2563 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อชี้แจงถึงเรื่อง “CPTPP” หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยต้องการให้เข้าใจจุดยืนรัฐบาล รวมถึงเพื่อความเข้าใจกันและกัน โดยแบ่งเป็นดังนี้

1. นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานต้องเร่งศึกษาผลดีและผลเสียในการตัดสินใจว่าไทยควรจะเข้าหรือไม่เข้าร่วมการเจรจา CPTPP อย่างรอบคอบ

2. ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มี 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น, แคนาดา, เม็กซิโก, เปรู, ชิลี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และ เวียดนาม

3. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกาศสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าร่วมการเจรจาเพื่อรับฟังข้อตกลง CPTPP ในเบื้องต้น เพราะมองว่าการเข้าร่วมวงเจรจาเปรียบเสมือนไทยได้รับสิทธิ์ที่จะเดินเข้าไปห้องประชุมลับ เพื่อที่เราจะได้รับทราบข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวของเราเอง แทนที่จะรับข่าวสารอยู่วงนอก

ส่วนข้อห่วงกังวลว่า CPTPP จะทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศสมาชิก CPTPP อื่นๆ แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ

1. การผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืช

  • เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชในกลุ่มพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ดั้งเดิม พันธุ์ป่าของพืชทุกชนิด รวมถึงสมุนไพร และพันธุ์การค้าที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ไปปลูกต่อได้เหมือนเดิม
  • ข้อยกเว้นให้เกษตรกร สามารถเก็บพันธุ์พืชใหม่ ที่ได้รับการจดทะเบียนคุ้มครอง ไว้ใช้เพาะปลูกต่อในพื้นที่ของตนได้ และยังนำพันธุ์พืชใหม่นึ้ไปพัฒนาต่อยอด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพันธุ์
  • อนุสัญญายู UPOV 1991 ให้การคุ้มครองสิทธิ์แก่ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ทั้งหมด รวมถึงนักวิจัยภาครัฐ นักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ นักศึกษา เกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป สามารถยื่นจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ได้
  • CPTPP ไม่ได้กำหนดให้สมาชิกต้องปรับกฎหมายภายในประเทศในเรื่องสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) แต่อย่างใด

...

2. การเข้าถึงยาของประชาชนและเครื่องมือแพทย์

  • ไทยจะยังมีสิทธิ์บังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยา (CL) ตามกรอบความตกลงทริปส์ขององค์กรการค้าโลก (WTO) ดังเช่นที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบันทุกประการ

3. การเข้ามาแข่งขันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ

  • ถ้ามูลค่าโครงการต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ก็ไม่ต้องเปิดให้เข้ามาแข่งขัน
  • มีระยะเวลาการปรับตัว (มาเลเซียขอระยะเวลาปรับตัว 20 ปี / เวียดนามขอปรับตัว 25 ปี)