เรื่องมีอยู่ว่าประเทศทั่วโลกกำลังหวาดวิตกกับ สงครามการค้าโลก ที่ลุกลาม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ อย่างเดียว ยังมีเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย ยุโรป ที่ได้รับผลกระทบกันไปหมด

ประเทศไหนจะรุ่งจะรอด อยู่ที่สายป่านและขนาดของเศรษฐกิจ รวมทั้ง จำนวนประชากร ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างจีนไม่ค่อยกระทบกับภาคการผลิต เพราะกำลังการบริโภคภายในประเทศจีนจากประชากรเป็นพันล้าน ยังช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้

คำพังเพยที่ว่ามีลูกมากจะยากนานคงใช้กับเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ได้ ยิ่งมีประชากรมากก็ยิ่งมีผลต่อการบริโภค ในประเทศ แต่อาจจะต้องแยกประเภทของระดับการเจริญเติบโตเอาไว้หน่อย

คือระดับ ประเทศที่ยังไม่พัฒนา ประเทศที่กำลังพัฒนา และ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะปัญหาที่จะเกิดขึ้นในแต่ละระดับประเทศจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านปัจจัยในประเทศและนอกประเทศ

อย่าง จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย อเมริกา พัฒนาแล้ว คนยิ่งเยอะก็ยิ่งดี ช่วยกันสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะการผลิตสินค้าด้านเทคโนโลยีจะสร้างรายได้เข้าประเทศได้มากที่สุด ความเสี่ยงน้อยที่สุด

เพราะฉะนั้น ถ้าอาเซียน ที่มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนรวมกันได้ ก็จะมี พลังทางเศรษฐกิจที่มหาศาล ในทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องยากอยู่ เพราะอาเซียนก็ คือจีน คือญี่ปุ่น คือสิงคโปร์ คืออเมริกา คือยุโรป ที่มีศักยภาพมากกว่า เข้ามาลงทุนในธุรกิจของอาเซียนหมดแล้ว ยกเว้นร้านค้า แผงลอย ร้านอาหารข้างถนน ทำไร่ทำนาที่เราพยายาม
จะภูมิใจกันว่าเราติดอันดับโลก

บทความของสำนักข่าวต่างประเทศ สำนักหนึ่งวิเคราะห์เอาไว้ว่า ประเทศไทย ยังไม่พัฒนาแต่กลับเกิดปัญหาแบบเดียวกับ ประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว เช่นในปี 2530 ร้อยละ 25 ของประชากรจะมีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งจะเป็นภาระของสังคมและของประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจอยู่แล้ว

...

ทั้งแก่และทั้งจน คิดถึงสภาพตอนนั้น คุณภาพชีวิตคนไทยคงตกต่ำน่าดู

ในขณะที่ อัตราการเกิดของประชากรเกือบจะต่ำที่สุดในโลก คือ 1.5 ต่ำกว่ามาตรฐานเฉลี่ยที่ 2.1 พูดให้เข้าใจง่ายๆคือมีคนเกิด 1 คน แต่มีคนตาย 2 คน ทำให้ทรัพยากรบุคคลของประเทศไม่มีความสมดุลและด้อยคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงงานหรือด้านอื่นๆและจะขาดแคลนในที่สุด

จากนี้ไปประชากรจะคงที่และค่อยๆลดลง สิ่งที่จะตามมาก็คือกำลังบริโภคก็จะค่อยลดลงเพราะผู้สูงอายุก็จะกินน้อยใช้น้อยเป็นปกติในขณะที่รายได้ในครัวเรือนจะลดลงตามมา แรงงาน วัยแรงงานจะลดลงเหลือคนแก่กับเด็ก

ที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน และสวัสดิการของรัฐ

ภาพรวมที่จะได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นจีดีพี ภาคการผลิตการบริการ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ส่วนเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ต้องไปพูดถึง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนต่อโลกในอนาคตยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนของประเทศไทยจะรับมือกับปัญหาในปัจจุบันและอนาคตได้ไกลแค่ไหน สำคัญว่าใครจะหน้าด้านหรือใครจะตัดพี่ตัดน้องกับใคร.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th