สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ ดับ 463 ราย โคราชแชมป์ 25 ราย สาเหตุหลัก เมาขับ ขับรถเร็ว นักบิดมอเตอร์ไซค์ เสียชีวิตสูงสุด กว่า 80 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 ม.ค. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย แถลงสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 ว่า วันที่ 2 ม.ค. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร เกิดอุบัติเหตุ 369 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 44 ราย ผู้บาดเจ็บ 391 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 30.35 และขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 29.54 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.53 รถปิกอัพ 5.70 มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 182,023 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 46,248 ราย ไม่มีใบขับขี่ 41,473 ราย
โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา 17 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 3 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา 18 คน สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน (27 ธ.ค.2561 – 2 ม.ค. 2562) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,791 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 463 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,892 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต หรือตายเป็นศูนย์ มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก แพร่ สตูล และสมุทรสงคราม จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 118 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 25 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 137 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 40.39 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 28.30 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.64 รถปิกอัพ 6.95
...
นายสุธี กล่าวต่อไปว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 พบว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนน ยังคงเกิดจากการดื่มแล้วขับ และขับรถเร็ว รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 79.64 ซึ่งศปถ.ได้ประสานจังหวัดบูรณาการสร้างความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งการนายอำเภอบรรจุ เรื่อง การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและสงบเรียบร้อยอำเภอ พร้อมกำชับให้จังหวัดถอดบทเรียน ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนน เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุในเชิงลึก รวมทั้งค้นหาปัญหาอุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จในการลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการและแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละพื้นที่ พร้อมบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง คือ ขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย