นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลสำเร็จการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย ม.3 ต.ทรัพย์ทวี อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ ธานี กลุ่มต้นแบบในการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีศักยภาพการผลิตในพื้นที่และบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ ดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างครบวงจร ภายใต้แนวคิด “อยู่ดี มีสุข ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีเงินออม”

“วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย บริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบห้าง หุ้นส่วนจำกัด มีเกษตรกรสมาชิกรวม 226 ราย เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2559 ก่อนที่จะพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนจนประสบความสำเร็จนั้น ที่ผ่านมาเกษตรกรในชุมชนต่างประสบปัญหา ภาวะหนี้สินครัวเรือน ด้าน ตลาดและมาตรฐานสินค้าเกษตร หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาให้การสนับ สนุน รวมถึงผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ได้ร่วมระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง”

...

ผอ.สศท.8 เผยอีกว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีกิจกรรมด้านการเกษตรที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, โรงสีชุมชน, โรงน้ำดื่มชุมชน, กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร, กลุ่มเลี้ยงผึ้ง, กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มน้ำยางสด, กลุ่มเลี้ยงกบ, กลุ่มปุ๋ยหมัก, กลุ่มปุ๋ยสั่งตัด และกลุ่มเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยสมาชิกแต่ละคนจะกระจายอยู่ในกลุ่มต่างๆตามความถนัดและพื้นที่ของตนเอง ทำให้สมาชิกทั้ง 11 กลุ่มมีรายได้รวมกันเฉลี่ยอยู่ปีละ 4.67 ล้านบาท

สำหรับกิจกรรมที่มีความโดดเด่น สร้างรายได้ดี และประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า จำหน่ายเห็ดสดและแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นข้าวเกรียบเห็ดนางฟ้า ใน 1 ปี สามารถปลูกเห็ดได้ 4 รอบ ให้ผลผลิตเฉลี่ยรอบละ 700 กก. ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 140,000 บาทต่อปี เมื่อคิดเป็นรายได้รวมของกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่ที่ปีละ 560,000 บาท

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้ง เกษตรกรรับน้ำผึ้งมาจากกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งมาแปรรูปเป็นสบู่ ผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 จำหน่ายให้ผู้มาศึกษาดูงานและผลิตตามคำสั่งซื้อ ส่วนร้อยละ 40 จำหน่ายทางออนไลน์ผ่าน Facebook และ Line ของเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 35,400 บาทต่อปี คิดเป็นรายได้รวมของกลุ่มอยู่ที่ปีละ 212,400 บาท

กลุ่มเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลาเม็ง เมื่อได้น้ำหนักตามมาตรฐานจับขายและนำมาแปรรูปเป็นต้มโคล้งปลาเม็ง ยำปลาเม็งกึ่งสำเร็จรูปบรรจุกล่อง ส่งจำหน่ายให้แก่ผู้รวบรวมและตลาดในพื้นที่ และจำหน่ายผ่านเพจ “ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี” และ “ปลาเม็ง Pla Meng” ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 16,000 บาทต่อปี.

...

...