นอกจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะมีภารกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยแล้ว ยังตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมภายใต้กลยุทธ์ “ทะเลเพื่อชีวิต” (Ocean for Life) ในแผนระยะยาว 10 ปี (ปี 2563-2573) เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทยอีกด้วยครับ

ผมศึกษากรอบการดำเนินงานของ ปตท.สผ.แล้ว เห็นว่าน่าสนใจมาก โดยเฉพาะกรอบการดำเนินงาน 3P ซึ่งประกอบด้วย PROTECT คือ การปกป้องท้องทะเล ด้วยการบริหารจัดการขยะทะเลเพื่อป้องกันมลภาวะจากบนบกลงสู่ทะเล PRESERVE คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการปลูกป่าชายเลน และพัฒนาศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก และ PROVIDE คือ การสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

...

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่แนวคิดนะครับ เพราะเขาลงมือปฏิบัติจริง ทำโครงการจริงๆ หลักๆที่ผมเห็น มีอยู่หลายโครงการครับ เช่น โครงการบริหารจัดการขยะทะเล (Ocean Waste Management) กำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะร้อยละ 50 ในปี 2573 อีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการปลูกป่าชายเลน (Mangrove Forestation) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล (Biodiversity) ด้วยการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลน จำนวน 5,000 ไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ให้กลับมาเป็นระบบนิเวศป่าชายเลนที่สมบูรณ์ โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (Aquatic Animal Hatchery Learning Center) มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล และส่งเสริมวิถีการทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ในพื้นที่ 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย

นอกจากนี้ ยังมี โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล (Turtle Conservation) นอกจากนี้ ยังมี โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล, โครงการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา (Coastal Conservation Area and Fish Home), โครงการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (Seafood Product Value Enhancement), โครงการตรวจติดตามสุขภาพของมหาสมุทรและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ocean Health & Biodiversity Monitoring)

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ตามเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life below water) และยังช่วยขับเคลื่อนดัชนีสุขภาพของมหาสมุทร (Ocean Health Index) ของประเทศไทยและของโลกในภาพรวมอีกด้วยครับ.