นางอุไรวรรณ หอมจันทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก พร้อมสมาชิกโชว์ผลิตภัณฑ์มะม่วง.

ภาคใต้ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตผลไม้หลากหลายชนิดทั้งเงาะทุเรียน ลองกอง มังคุด โดยในแต่ละปีผลผลิตที่ออกมามีจำนวนมาก บางปีล้นตลาดกลายเป็นปัญหาของเกษตรกร

แต่ยังมีชาวบ้านบางกลุ่มคิดค้นนำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อป้องกันการเน่าเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยมีหน่วยราชการเข้าไปส่งเสริมให้คำแนะนำ

นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา และ นายสุชาติ แสงทอง เกษตรอำเภอสิงหนคร ดูขั้นตอนการผลิตมะม่วงแปรรูปกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก.
นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา และ นายสุชาติ แสงทอง เกษตรอำเภอสิงหนคร ดูขั้นตอนการผลิตมะม่วงแปรรูปกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก.

...

ดังเช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านนาออก หมู่ 5 บ้านนาออก ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งนำมะม่วงมาแปรรูปจำหน่าย เป็นที่รู้จักกันในนาม “ป้าติ้วแมงโก้”

วันก่อน นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา พร้อมด้วย นายสุชาติ แสงทอง เกษตรอำเภอสิงหนครจ.สงขลา นำคณะไปเยี่ยมวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว เพื่อให้การสนับสนุนต่อเนื่อง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวผลิต “มะม่วงเบาแช่อิ่ม” ซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของชาวสงขลา หากใครได้ลิ้มรสชาติมะม่วงของที่นี่แล้วจะต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้าน เพื่อนฝูง เพราะรสชาติแซ่บของมะม่วงลูกจิ๋วที่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แถมกรอบโดนใจ

นายสุพิศ จิตรภักดี และ นายสุชาติ แสงทอง ถ่ายรูปร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร ซึ่งเป็นต้นแบบในการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายสร้างรายได้.
นายสุพิศ จิตรภักดี และ นายสุชาติ แสงทอง ถ่ายรูปร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร ซึ่งเป็นต้นแบบในการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจำหน่ายสร้างรายได้.

ปัจจุบันได้นำมาพัฒนายกระดับด้วยวิทยาศาสตร์กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อ จนชาวบ้านผลิตขายแทบไม่ทัน นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงอีกหลายรูปแบบ เช่น น้ำมะม่วงพร้อมดื่ม, แยมมะม่วงสุก, มะม่วงอบแห้ง, น้ำพริกมะม่วง และอีกหลายอย่าง

นางอุไรวรรณ หอมจันทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาบ้านนาออก ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร กล่าวว่า การทำมะม่วงแช่อิ่มมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แทบทุกหลังคาเรือนใน จ.สงขลา จะปลูกมะม่วงพันธุ์เบาไว้เป็นต้นไม้ประจำบ้าน เพราะมีความจำเพาะกับดินในพื้นที่และออกผลตลอดทั้งปี

กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านนาออกหรือ ป้าติ้วแมงโก้ โชว์ผลผลิตมะม่วงเบาที่เก็บจากสวนเพื่อนำมาแปรรูป.
กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านนาออกหรือ ป้าติ้วแมงโก้ โชว์ผลผลิตมะม่วงเบาที่เก็บจากสวนเพื่อนำมาแปรรูป.

...

จุดเด่นทำให้มะม่วงเบาแช่อิ่มโด่งดังน่าจะมาจาก “สูตรเด็ด” ที่ชาวบ้านส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้มะม่วงยังคงความกรอบและมีรสชาติกลมกล่อมเข้าเนื้อ แต่ด้วยสูตรถูกทำขึ้นจากการกะประมาณของคนทำ ส่งผลให้มะม่วงมีรสชาติสีสัน ความกรอบ และอายุการเก็บแตกต่างกัน แต่นี่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการทำกินในครัวเรือน

มะม่วงเบาสงขลามีมาก ลูกก็ดก แถมออกตลอดทั้งปี ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคิดแปรรูปขึ้นมาจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ชาวบ้านมีรายได้มั่นคงขึ้น ตอนนี้ก็เริ่มส่งออกต่างจังหวัด วัตถุดิบของเราออกแทบจะไม่ทันกับความต้องการของตลาด” นางอุไรวรรณ กล่าว

“มะม่วงเบา” พืชอัตลักษณ์ของ จ.สงขลาที่เกษตรกรเก็บมาแปรรูปจำหน่าย.
“มะม่วงเบา” พืชอัตลักษณ์ของ จ.สงขลาที่เกษตรกรเก็บมาแปรรูปจำหน่าย.

...

นางอุไรวรรณ กล่าวอีกว่า สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา ได้ให้การช่วยเหลือและส่งเสริมในทุกๆด้าน และเตรียมผลักดัน “มะม่วงเบา” อ.สิงหนคร ให้เป็นพืชอัตลักษณ์ประจำจังหวัดสงขลา โดยปีที่ผ่านมาสร้างรายได้เข้าจังหวัดกว่า 200ล้านบาท เตรียมส่งเสริมเพิ่มพื้นที่ปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ด้าน นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา กล่าวว่า มะม่วงเบามีต้นกำเนิดใน อ.สิงหนคร พบต้นที่มีอายุมากที่สุดกว่า 100 ปี ด้วยสภาพแวดล้อมภูมิประเทศเป็นเมือง 2 ทะเล ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ทำให้ดินมีแร่ธาตุสมบูรณ์ มะม่วงจึงมีรสชาติดีกว่านำไปปลูกในพื้นที่อื่น

ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา และเกษตรอำเภอสิงหนคร เยี่ยมชมสวนเกษตรต้นแบบสิงหนคร ต.สทิงหม้อ.
ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา และเกษตรอำเภอสิงหนคร เยี่ยมชมสวนเกษตรต้นแบบสิงหนคร ต.สทิงหม้อ.

...

มะม่วงเบาของแท้ อ.สิงหนคร จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสเปรี้ยวกำลังดี ไม่เปรี้ยวจัด เนื้อกรอบ เปลือกบาง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “มะม่วงสงขลา”แต่จะมีการปลูกมากในคาบสมุทรสทิงพระ โดยเฉพาะ อ.สิงหนคร มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดกว่า 2,000ไร่

การปลูกมะม่วงเบาต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้นราว 10 เมตร เพื่อให้กิ่งก้านแผ่ทรงพุ่มได้กว้าง อายุ 3 ปีจะให้ผลผลิต ศัตรูพืชที่สำคัญคือเพลี้ยจักจั่นในช่วงที่มะม่วงออกดอก หนอนเจาะผลและหนอนเจาะลำต้น เจ้าของสวนจะใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งและเผาทำลาย หรือใช้ยาเส้นอุดรูเมื่อพบหนอนเจาะลำต้น เพื่อป้องกันโรคแมลง

มะม่วงเบาจะให้ผลผลิตปีละ 2 ช่วง คือ ประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย. และเดือน ก.ย.-ต.ค. ทำให้ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นบำรุงดอกต่อเนื่อง ผลผลิตต่อต้นต่อปีราว 400-600 กก. ราคาหน้าสวนอยู่ที่ กก.ละไม่ต่ำกว่า 30-80 บาท

นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา.
นายสุพิศ จิตรภักดี ผอ.สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา.

ปัจจุบันเกษตรกรรวมกลุ่มกันกว่า 20 คน หรือกว่า 100 ไร่ ทำเกษตรแบบปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการอย่างมากและไม่เพียงพอจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้รวมกลุ่มแม่บ้านนำมะม่วงเบาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย สร้างรายได้งดงาม

สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา เตรียมส่งเสริมให้เป็นพืชอัตลักษณ์สงขลา และเป็นพืช GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พร้อมเร่งให้ความรู้เกษตรกร ผลักดันให้เกิดแปลงต้นแบบในพื้นที่ ถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัยสู่เกษตรกรตั้งแต่การดูแลสวน การจัดการธาตุอาหารให้กับต้นพืช ไปจนถึงการแปรรูปและการตลาด

พร้อมทั้งจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรมะม่วงเบา เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูก สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป.

มะม่วงเบาที่แปรรูปเป็น “มะม่วงแช่อิ่ม” บรรจุภาชนะสวยงามพร้อมส่งให้ร้านค้าต่างๆตามที่สั่งไปจำหน่าย.
มะม่วงเบาที่แปรรูปเป็น “มะม่วงแช่อิ่ม” บรรจุภาชนะสวยงามพร้อมส่งให้ร้านค้าต่างๆตามที่สั่งไปจำหน่าย.

สมพร หาญณรงค์