(ภาพ : นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหารและ จนท.อบต. ระหว่างเปิดจุดรับขยะจากสมาชิก เป็นต้นแบบโครงการ “ขยะเงิน...ขยะบุญ”)

ปัจจุบันหลายภาคส่วนเริ่มหันไปให้ความสนใจกับเรื่องของ “ขยะ” มากขึ้น และด้วยความเจริญเติบโตของเมือง ประกอบกับผู้คนในชาติไร้ระเบียบวินัย ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ส่งผลให้ปริมาณขยะ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนกลายเป็น “ขยะล้นเมือง”

การแก้ปัญหามีความแตกต่างกันไปในรูปแบบต่างๆ ตามแต่ละท้องถิ่น อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เหนือเมือง อ.เมืองร้อยเอ็ด กลายเป็นต้นแบบการลดขยะแบบง่ายๆ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชน

นายสมเชาวน์ บำรุงชัย ปลัด อบต.เหนือเมือง นำเจ้าหน้าที่ อบต.มาตั้งจุดรับซื้อขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้วจากสมาชิก ก่อนจะเปิดประมูลขาย.
นายสมเชาวน์ บำรุงชัย ปลัด อบต.เหนือเมือง นำเจ้าหน้าที่ อบต.มาตั้งจุดรับซื้อขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้วจากสมาชิก ก่อนจะเปิดประมูลขาย.

...

นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง ร่วมกับ นายสมเชาวน์ บำรุงชัย ปลัด อบต.เหนือเมือง และ ผู้บริหารท้องถิ่น ได้ร่วมกันจัด โครงการ รับซื้อขยะจากชาวบ้านที่ผ่านการคัดแยกแล้วมาขายต่อให้กับพ่อค้า

พร้อมกับมีการต่อยอดจาก “ขยะทอง” เป็น โครงการ “ขยะเงิน... ขยะบุญ” เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายขยะไปใช้ในการฌาปนกิจสงเคราะห์ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะที่เสียชีวิต

เจ้าหน้าที่ อบต. นำกล่องกระดาษขึ้นชั่งน้ำหนัก เพื่อคิดเงินให้กับสมาชิก.
เจ้าหน้าที่ อบต. นำกล่องกระดาษขึ้นชั่งน้ำหนัก เพื่อคิดเงินให้กับสมาชิก.

นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง เปิดเผยถึงความเป็นมาของโครงการว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2559 เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

ต่อมาในวันที่ 20 ก.ย.2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ

โดยให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย

นายไพบูลย์ แน่นอุดร ทักทายสมาชิกที่นำขยะซึ่งผ่านการคัดแยกแล้วมาขายให้กับ อบต.
นายไพบูลย์ แน่นอุดร ทักทายสมาชิกที่นำขยะซึ่งผ่านการคัดแยกแล้วมาขายให้กับ อบต.

“อบต.เหนือเมืองจึงได้ทำโครงการคัดแยกขยะต้นทาง โดยวิธีการรับซื้อขยะจากชาวบ้านที่ผ่านการคัดแยกแล้ว จากนั้นนำขยะทั้งหมดเปิดให้ พ่อค้าประมูล ตกปีละประมาณ 400,000 กิโลกรัม เงินรายได้ส่วนหนึ่งหักเข้ากองทุน นำไปช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต เป็นค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ศพ ล่าสุด ได้รับเงินสูงถึง 22,140 บาท” นายไพบูลย์ กล่าว

...

ด้าน นายสมเชาวน์ บำรุงชัย ปลัด อบต.เหนือเมือง กล่าวว่า สำหรับขยะจะแยกเป็น “ขยะบุญ” กับ “ขยะทอง” ซึ่งขยะทองเป็นขยะที่สามารถนำไป ขายและนำเงินไปช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกในครอบครัว ที่เป็นสมาชิกของกองทุนกรณีเสียชีวิต

สมาชิกนำโทรศัพท์มือถือเก่ามาแลกเป็นเงิน ตามโครงการ “ขยะเงิน...ขยะบุญ” ที่ทาง อบต.เหนือเมือง ทำเป็นต้นแบบ.
สมาชิกนำโทรศัพท์มือถือเก่ามาแลกเป็นเงิน ตามโครงการ “ขยะเงิน...ขยะบุญ” ที่ทาง อบต.เหนือเมือง ทำเป็นต้นแบบ.

หากมีสมาชิกในกองทุนเสียชีวิต กองทุนก็ จะมีเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพในเบื้องต้น ตอนนี้อยู่ที่ ศพละ 22,140 บาท เงินที่กองทุนหักจากสมาชิกเฉลี่ย ครอบครัวละ 20 บาท/เดือน อาจเป็นเงินไม่มากนัก แต่ก็แสดงถึงความมีน้ำใจและเกื้อกูลต่อกัน

...

ทั้ง 23 หมู่บ้าน ไม่ว่าสมาชิกในหมู่บ้านรายใดเสียชีวิตจะมีเงินที่ได้จากการขายขยะนำไปมอบให้แก่ญาติผู้เสียชีวิต เป็นการรักษาขนบ ธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ดีที่มีต่อกันในกลุ่มของพี่น้อง ต.เหนือเมือง

นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง มอบเงินช่วยเหลือค่าทำศพให้กับญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุน.
นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง มอบเงินช่วยเหลือค่าทำศพให้กับญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุน.

โครงการดังกล่าวดำเนินการมาแล้วประมาณ 3 ปี ในแต่ละปีสามารถขายขยะได้มากถึง 400,000 กิโลกรัม รวมรายได้ 3 ปี กว่า 3,000,000 บาท ช่วยเหลือ สมาชิกที่เสียชีวิตไปแล้วกว่า 1,500,000 บาท

“ในอดีตก่อนจะมีโครงการหน้านี้เกิดขึ้น ขยะทั้งหมดถูกนำไปทิ้งที่กองขยะรวมของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.เหนือเมือง ความเดือดร้อนและความรำคาญเหตุต่างๆก็หนีไม่พ้นชาวบ้านในพื้นที่ ดังนั้น การทำโครงการนี้ ถือเป็นการลดจำนวนขยะได้กว่า 400,000 กิโลกรัม” นายสมเชาวน์ กล่าว

...

นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง มอบเงินที่หักจากรายได้ การขายขยะให้กับญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุน.
นายไพบูลย์ แน่นอุดร นายก อบต.เหนือเมือง มอบเงินที่หักจากรายได้ การขายขยะให้กับญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุน.

นายสมเชาวน์ เปิดเผยอีกว่า อบต.เหนือเมือง ยินดีที่จะเป็นเครือข่ายตำบลต้นแบบให้แก่ ตำบลอื่นๆในจังหวัดและต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีโครงการต่อยอดขึ้นอีก อย่างเช่น งานศพสีเขียว คือรณรงค์ให้ใช้พวงหรีดที่ทำจากธรรมชาติ สามารถย่อยสลายได้

โดยจะพยายามไม่ให้มีขยะ หรือใช้สิ่งที่เป็นมลภาวะต่างๆกับตำบล เพื่อเป็นต้นแบบ เป็นที่ศึกษาดูงาน รวมทั้งโครงการทำปุ๋ยชีวภาพ ด้วยขยะอินทรีย์ เป็นการลดจำนวนขยะ ส่วนขยะพิษ ขยะอันตราย ก็จะนำส่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดทำลายต่อไป

ต้นไม้ถูกนำมาใช้แทนพวงหรีดในงานศพเพื่อลดการใช้โฟม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม.
ต้นไม้ถูกนำมาใช้แทนพวงหรีดในงานศพเพื่อลดการใช้โฟม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม.

สำหรับ อบต.เหนือเมือง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 29.25 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรทั้งสิ้นรวม 19,750 คน 4,144 ครัวเรือน 23 ชุมชน มีขยะเกิดขึ้น จำนวน 552.91 ตัน/เดือน หรือ 60 ตันต่อวัน

โครงการคัดแยกขยะต้นทางสามารถลดปริมาณขยะได้จำนวนมากในแต่ละปี และยังส่งผล ให้ชาวบ้านมีรายได้จากขยะทองและร่วมกันสร้างบุญ โดย อบต. จะรับซื้อขยะทุกสัปดาห์

เป็นการลดมลภาวะรวมทั้งรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างดี.

คมกฤช พวงศรีเคน