คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ได้ริเริ่มแนวคิดฟื้นฟูและพัฒนาป่าไม้ใน จ.แพร่ และสร้างเครือข่ายโดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม เอกชน และประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), จ.แพร่, อบจ.แพร่, เทศบาลเมืองแพร่, กรมป่าไม้, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และวิทยาลัยชุมชนแพร่ จึงร่วมกันทำเอ็มโอยูความร่วมมือส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จ.แพร่ ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจภายใต้ผืนป่า”

มีขอบเขตการดำเนินงาน... 1.พัฒนาและยกระดับทักษะ (re-skill/up-skill) ในการบริหารจัดการป่าชุมชนให้กับกรรมการป่าชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง... 2.ถ่าย ทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ชุมชน

3.ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่เพื่อสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่... 4.สนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้และให้คำปรึกษาในการสร้างมูลค่าจากคาร์บอนเครดิต รวมถึงการลดการสร้างมลพิษจากการเผาป่าและวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตร

สำหรับองค์ความรู้และเทคโนโลยี ที่จะนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย... 1.การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ สำรวจและเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช พืชป่า พืชหายาก พืชสมุนไพร สำหรับคลังทรัพยากร สำรวจความหลากหลายของเห็ดกินได้ในป่าชุมชน... 2.การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน อาทิ การขยายพันธุ์ไผ่พันธุ์ดีด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การผลิตไม้ดอก ไม้ประดับสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในป่าชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่ากินได้ การเลี้ยงชันโรง การเพาะเลี้ยงครามและฮ่อมสำหรับผลิตสีย้อมธรรมชาติ

...

3.การประยุกต์ใช้เกษตรสมัยใหม่ อาทิ การใช้เทคโนโลยี Smart IoT และระบบการให้น้ำในแปลงเพาะชำกล้าไม้ การติดตาม PM2.5 และเฝ้าระวังไฟป่าในป่าชุมชน การใช้เทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อการผลิตพืช... 4.การท่องเที่ยว อาทิ การประยุกต์ใช้นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม เพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์.

สะ–เล–เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้าเท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม