นางสาววรรณภร วัฒนาเกษมสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนทางธุรกิจ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด เผยถึงการจัดทำ โครงการรักษ์ผึ้ง (BEE LOVE PROJECT) ด้วยการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และโรงเรียนเครือข่าย ผ่านทางค่ายเยาวชนรักษ์ผึ้ง “BEE LOVE SCHOOL CAMP” ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) โดยมีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้ ผู้เลี้ยงผึ้ง และเยาวชนกว่า 200 คน ว่าเป็นโครงการอันเกิดจากความมุ่งมั่นของบริษัท เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งที่ถูกต้องและปลอดภัยให้แก่ชาวสวนผลไม้และผู้เลี้ยงผึ้ง รวมถึงชุมชนและเยาวชน ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน เกษตรกร ชุมชน และภาคการศึกษา ให้ร่วมกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

“โครงการนี้ยังเป็นการส่งเสริมการทำเกษตรตามหลักการ IPM หรือการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และมาตรฐาน GAP นอกจากจะทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ยังช่วยให้ผึ้งมีความปลอดภัย สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบนิเวศมีความสมดุล เกษตรกรและผึ้งสามารถอยู่ร่วมกันได้แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะผึ้งจะช่วยเกษตรกรในการผสมเกสรพืชที่ปลูกแล้ว และผลผลิตที่ได้จากผึ้งยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย”

...

นายนริศร์ คงสมบุญ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจันทบุรี กล่าวว่า เกษตรกรบางพื้นที่อาจยังไม่ทราบถึงการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ การที่เราร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนในการทำโครงการนี้ ถือเป็นโครงการที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง และชุมชน ได้เห็นถึงความสำคัญของผึ้งและแมลงมากยิ่งขึ้น หากทุกภาคเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จะสามารถช่วยรักษาระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนต่อไปได้

“เริ่มแรกใช้สารเคมีมาตลอดไม่ได้มีความรู้เรื่องผึ้งเลย บวกกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผึ้งหายไปจำนวนมาก พอได้เข้ามาอบรมที่ศูนย์ผึ้งได้รู้จักโครงการรักษ์ผึ้ง ทำให้ได้ความรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของผึ้ง และแมลงมากขึ้น คิดว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมีและอยากเลี้ยงผึ้งควบคู่ไปด้วย สามารถเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ไม่ให้สารเคมีที่เราใช้ไปกระทบกับผึ้งและแมลง ซึ่งเป็นตัวช่วยผสมเกสรช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชผลในไร่ของเรา” นางอาลัย จิตตเจริญ เกษตรกรชาวสวนผลไม้ อ.มะขาม จ.จันทบุรี ให้มุมมองต่อโครงการรักษ์ผึ้ง.

คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม