ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผยถึงโครงการร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในพื้นที่ EEC ได้แก่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi), มหาวิทยาลัยบูรพา, คูโบต้าฟาร์ม, บริษัท เซนโกรท จำกัด, บริษัท แวมสแตค, เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง (EECh), นิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ซิตี้, เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA), เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา), (EECmd) เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง (EEC STP) และเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เพื่อพัฒนานวัตกรรมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบไปด้วย 1) FoodTech & AgTech 2) TravelTech 3) MedTech 4) Climate Tech และ 5) Soft Power

“NIA มีกลไกในการสนับสนุน 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านกำลังคนและเพิ่มจำนวนองค์กรนวัตกรรม การสนับสนุนด้านการเงิน และการทำให้ธุรกิจนวัตกรรม สินค้าและบริการนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านการเกษตรเป็นที่ยอมรับและรู้จัก ทั้งหมดจะเป็นแรงผลักดันในการยกระดับ SMEs/Startup/SE เป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมที่จะสามารถยกระดับและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ ก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ และเกิดการลงทุนทางด้านนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น ถ้ามีพื้นที่แบบนี้ในหลายๆพื้นที่จะทำให้ไทยเป็นที่ยอมรับและรู้จักในฐานะการเป็นชาตินวัตกรรม”

...

ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เผยอีกว่า การเริ่มจัดตั้งศูนย์กลาง การสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมด้าน Smart IoT จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงกลไกและเครื่องมือสนับสนุนในการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเชิงลึก และเป็นพื้นที่ทดลองให้กับผู้ประกอบการที่สนใจได้เข้ามาใช้บริการและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม ในปี 2566 โดยหน่วยงานพันธมิตรร่วมที่พร้อมให้บริการ อาทิ โครงสร้างพื้นฐานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดพื้นที่ในการเป็น Co-working Co-office และ Co-lab เพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัทด้าน Smart IoT พร้อมด้วยการบ่มเพาะธุรกิจแบบเร่งอัตราการเติบโต ที่สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ขณะที่คูโบต้า ฟาร์มจะเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรครบวงจร ภาคธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน FoodTech & AgTech มีบริการพื้นที่ทดสอบ ในการเพาะปลูกพันธุ์พืชเพื่อศึกษาและวิจัยต่อยอดการพัฒนา

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ บริการวิชาการต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ดาวเทียมในสภาวะต่างๆ ขณะที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในการช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ส่วนภาคเอกชนอย่าง บริษัท เซนโกรท จำกัด ที่ได้แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยบูรพา ให้บริการในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นน้ำ จากการใช้ AI Machine Vision ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม IoT กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์มทางด้านสุขภาพและการแพทย์แบบครบวงจร สำหรับ Smart Living, Smart Care, Smart Health เพื่อการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วย โดยการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที

ส่วน บริษัท แวมสแตค จำกัด ดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบริการ แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ และอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกในอนาคตอย่างยั่งยืน.

คลิกอ่านคอลัมน์ “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม