สาหร่ายผักกาดทะเล เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นที่นิยมรับประทานมาก โดยเฉพาะในประเทศสกอตแลนด์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี กรมประมง ได้ทำการเพาะเลี้ยงและประสบผลสำเร็จ สามารถขยายพันธุ์สู่การเพาะเลี้ยง เพื่อผลิตชีวมวลสาหร่ายขนาดใหญ่ได้ และพบว่าสาหร่ายชนิดนี้เป็นแหล่งของโปรตีนและคาร์โบ ไฮเดรต สามารถนำมาเป็นทั้งอาหารสัตว์ น้ำ อาหารมนุษย์ได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสมต่อการเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต

“สาหร่ายผักกาดทะเลปัจจุบันแบบสดราคาขายสูงถึง กก.ละ 300-500 บาท ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี และเครือข่ายร่วมพัฒนาพืชทะเลในประเทศไทยเพื่อเพิ่มมูลค่า จึงได้ขยายโอกาสทางการตลาด ภายใต้แนวทาง ปกป้อง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ตลอดถึงระบบนิเวศชายฝั่งให้เกิดความสมดุล ภายใต้การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนในการเพาะเลี้ยง และแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มเกษตรกร สร้างเงินสร้างงานให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่”

...

นางสาวมนทกานติ ท้าม ติ้น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ จ.จันทบุรี เล่าถึงการดำเนินการเชิงรุกจนขยายผลจากสาหร่ายผักกาดทะเลจากธรรมชาติ ที่นำมาขยายพันธุ์เมื่อปี 2544 จนมีปริมาณมากเพียงพอที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ...ศูนย์ฯได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อขยายผลการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายผักกาดทะเล เบื้องต้นมี 3 ชุมชน ประกอบด้วยวิสาหกิจชุมชนแหลมสิงห์จันทบุรี วิสาหกิจชุมชนธนาคารบ้านปลาธนาคารปู และกลุ่มแม่บ้านแปรรูปหอยนางรม

เนื่องจากทั้งสามกลุ่มนี้มีความเข้มแข็งที่ต่างกัน ตั้งแต่การส่งเสริมการท่องเที่ยวไปจนถึงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยแต่ละชุมชนจะมีกลุ่มที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ครัวเรือน

หลังจากได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากศูนย์ฯ แล้ว แต่ละกลุ่มจะนำมาแปรรูปเป็นอาหารสำหรับคน ตลอดถึงการเก็บรักษาหรือแปรรูปเพื่อให้มีอายุที่ยาวนานขึ้น เช่น หมี่กรอบสาหร่าย เครื่อง สำอาง และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพจากสาหร่าย เป็นการเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายทำ ให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยราคาขายเมื่อแปรรูปแล้ว หรือเป็นแบบแห้งราคาจะสูงถึง กก.ละ 5,000 บาท ถือเป็นการส่งเสริมอาชีพที่เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนฐานรากเป็นอย่างดี ที่สำคัญสาหร่ายผักกาดทะเลยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ดีอีกด้วย

...

“การเพาะเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้ไม่ต้องลงทุนเยอะ นับเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สามารถต่อยอดได้ การดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้ประโยชน์ได้มาก แถมมีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่ต้องให้อาหาร ไม่ต้องเสียค่าน้ำ ที่สำคัญเกษตรกรสามารถมีรายได้ระหว่างการรอรอบการผลิตสัตว์ทะเลชนิดอื่น ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา โดยจากการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่ามากมาย โดย เฉพาะการนำหอยนางรมและสาหร่ายผักกาดมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ข้าว เกรียบหอยนางรม ข้าว เกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลาหมึก ข้าวเกรียบสาหร่ายผักกาดทะเล บะหมี่สาหร่ายผัดกาดทะเล หมี่กรอบสาหร่ายผักกาดทะเล หมี่กรอบน้ำพริกหอยนางรม ขนมขาไก่ สาหร่ายพวง องุ่น โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานกว่า 5 เดือน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างต่อเนื่อง”.

กรวัฒน์ วีนิล