นักธรณีวิทยาตรวจสอบหินที่พบซากฟอสซิลที่ จ.สระแก้ว ยืนยัน เป็นฟอสซิลของ ไครนอยด์ สัตว์ทะเลโบราณ อายุประมาณ 250-285 ล้านปี โดย จนท.จะเข้ามาประเมินว่าเข้าข่ายพื้นที่ซากดึกดำบรรพ์หรือไม่อีกครั้ง
จากกรณี นายพยุพิณ หมื่นยุทธ์ ผู้ประกอบการรับซื้อผักสดในพื้นที่หมู่ 1 ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ได้นำซากฟอสซิลที่ฝังอยู่ภายในหิน จำนวน 3 ก้อนมาให้ตรวจสอบ ภายหลัง น.ส.พิณทิพย์ หมื่นยุทธ์ เจ้าของร้านครัวครกตุง ได้นำภาพถ่ายซากฟอสซิลดังกล่าว โพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวของตนเอง ชื่อ Pinthip Koktung เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา จนเป็นที่ฮือฮาของคนในพื้นที่สระแก้วนั้น
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 2 ธ.ค.62 ผู้ประกอบการรับซื้อผักสดในพื้นที่ ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว นายสุชาติ ศรีเทพ กำนันตำบลพระเพลิง ให้การต้อนรับนายธีรพล ศรีโมรา ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยนายอดุลย์วิทย์ ภาวีระ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ นางสาว ธัญญธร โทนรัตน์ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ที่ พบซากฟอสซิลฝังในหิน ภายในสวนปาล์มน้ำมันลูกสาวของส่วนถ่ายภาพโพสต์เฟซบุ๊ก มีคนติดต่อขอดูหลายราย ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ คาดเป็นหินฟอสซิลซากพลับพลึงทะเล หรือสัตว์ทะเลที่มีรูปร่างคล้ายต้นไม้ ในมหายุคพาลีโอโซอิก
...
นายอดุลย์วิทย์ ภาวีระ นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ กล่าวว่า จากที่นายพยุพิณ เจ้าของสวนที่พบหินทั้งหมดเป็นหินลักษณะฝังอยู่ตามหัวไร่ปลายนา โดยหินทั้ง 3 ก้อนนี้ ฝังอยู่ภายในสวนปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ ห่างจากจุดรับซื้อผักเพียง 500 เมตร โดยพบก้อนหินขณะให้คนงานขนมาจากสวนปาล์ม เพื่อวางทำเป็นแนวรอบบ้านพัก จนกระทั่งเห็นภาพบนหิน จึงนำกล้องโทรศัพท์ไปถ่ายภาพไว้ พบลักษณะคล้ายฟอสซิลในหินเหมือนตัวหนอน หอยและคล้ายปู จึงนำมาให้ภรรยาดูและมีการโพสต์ภาพออกไป จากการตรวจสอบหินฟอสซิลที่อายุ 250 ล้านปีถึง 285 ปี เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติของโลก ซึ่งแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียนเพื่อประโยชน์ในการดูแลรักษา คุ้มครองและอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติในการศึกษา
ด้าน นางสาว ธัญญธร โทนรัตน์ นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ เปิดเผยว่า น.ส.พิณทิพย์ หมื่นยุทธ์ ผู้โพสต์ภาพลงเฟซบุ๊ก หลังลงภาพไปมีคนสนใจโดยเฉพาะคนสระแก้ว มีการแสดงความคิดเห็นหลากหลาย จำนวนมากกว่า 1,000 ความเห็น และมีการแชร์โพสออกไปมากกว่า 2,000 แชร์ และมีอาจารย์จากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง เข้ามาระบุว่า หินฟอสซิลที่พบ เป็นซากพลับพลึงทะเล หรือเป็นสัตว์ทะเลที่มีรูปร่างคล้ายต้นไม้ พบในมหายุคพาลีโอโซอิก อายุประมาณ 250 ล้านปี ขณะนี้ มีคนพยายามติดต่อขอมาดู
นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ กล่าวต่อว่า ล่าสุดได้นำเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ดูแลและตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ มีความประสงค์ที่จะเผยแพร่ข้อมูลและข้อกฎหมายดังกล่าว สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทั่วไป ถ้าซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นการศึกษาต้องชี้แนวเขตในรักษา และคุ้มครองเจ้าของที่ ไม่สามารถเข้าไปทำประโยชน์ในที่บริเวณนี้ได้แต่หน่วยที่รับผิดชอบมาชดเชยค่าเสียหายให้เจ้าของที่ดินที่พบซากฟอสซิลดังกล่าว
ขณะที่ นายสุระพง ธรรมวรางกูร กล่าวว่า หินที่พบทั้งหมดเป็นหินลักษณะฝังอยู่ตามหัวไร่ปลายนา โดยหินทั้ง 3 ก้อนนี้ ฝังอยู่ภายในสวนปาล์มน้ำมันของชาวบ้าน โดยพบก้อนหินขณะลักษณะคล้ายฟอสซิลในหินเหมือนตัวหนอน หอยและคล้ายปู จึงนำมาดูแล้วหน้าจะมีอายุประมาณ 250 ล้านปี แต่ในพื้นที่จังหวัดสระแก้วเพิ่งจะพบเป็นครั้งแรก หลังเห็นภาพมีคนสนใจมากโดยเฉพาะคนสระแก้ว มีการแสดงความคิดเห็นหลากหลาย ความเห็นว่าหินฟอสซิลที่พบเป็นซากพลับพลึงทะเล หรือเป็นสัตว์ทะเลที่มีรูปร่างคล้ายต้นไม้ พบในมหายุคพาลีโอโซอิก
...
ส่วน นายธีรพล ศรีโมรา ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ล่าสุด กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สระแก้ว ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบแล้วพบว่า หินที่พบเป็นฟอสซิล หรือซากในหิน ของ "ไครนอยด์" สัตว์ทะเลโบราณ อายุประมาณ 250-285 ล้านปี ซึ่งสันนิษฐานพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเป็นทะเล หลังจากนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการประเมินการกระจายตัวของซากดึกดำบรรพ์และความหนาแน่นของซากในพื้นที่ว่า หากเข้าหลักเกณฑ์ ก็จะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ซากดึกดำบรรพ์ เพื่อเป็นเขตศึกษาวิจัยต่อไป
สำหรับซากดึกดำบรรพ์ ไครนอยด์ หรือ พลับพลึงทะเล ที่พบในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปในชั้นหินปูน ทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่หินอายุออร์โดวิเชียน หรือ 485 ล้านปีก่อน บริเวณจังหวัดลำพูน กาญจนบุรี สตูล หินยุคเพอร์เมียน หรือ 300 ล้านปีก่อน บริเวณจังหวัดราชบุรี สระบุรี ลพบุรี สระแก้ว และหินยุคไทรแอสสิก หรือ 250 ล้านปีก่อน บริเวณจังหวัดลำปางดังกล่าว.