ทะเลภาคตะวันออกใกล้ถึง “เทศกาลดูปูแป้น” ไล่ยาวไปตั้งแต่ระยองจนถึงตราด แต่จะพบได้มากที่สุดในแม่น้ำเวฬุ และลำคลองสาขา ในเขต ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี
ปูแป้น (Green tidal crab) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Varuna litterata แต่ที่ชาวบ้านเรียกกัน ปูจาก หรือปูใบไม้ เป็นปูขนาดเล็กมีขนาดประมาณ 5-7 ซม. กระดองแบนและมีสีน้ำตาลแกมเหลือง สีของกระดองจะเข้มกว่าสีของขาเดิน มีหนามข้างกระดองหยักเป็นฟันเลื่อยมี 2 ซี่ ขอบตาเว้าระยะห่างพอๆกัน ก้ามซ้ายขวามีลักษณะค่อนข้างแบน และขนาด
ใกล้เคียงกัน
มีขนอ่อนเส้นสั้นๆเรียงติดกันเป็นแผงตามขอบบนด้านในของข้อที่ 3-4 ส่วนข้อที่ 5 มีหนามยื่นยาวอยู่หนึ่งอันเล็กๆอีกข้างละอัน ข้อที่ 4 ขาเดินทั้งสี่ไม่มีหนาม แต่มีขนอ่อนเรียงเต็มนิ้วของขาเดินแบนกว้าง จากลักษณะของขา และขนทำให้ปูแป้นว่ายน้ำได้รวดเร็ว
กระดองมีลักษณะแบนแป้น จึงได้ชื่อว่า “ปูแป้น”
คล้ายปูแสม แต่มีขนาดเล็กกว่า ผิวกระดองเรียบกว่า อีกทั้งไม่มีพฤติกรรมขุดรูอยู่เหมือนปูแสม ตอนกลางวันจะหลบอยู่ตามโคนต้นไม้ตามแหล่งที่อยู่อาศัย ออกหากินในเวลากลางคืน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในหลายจังหวัดของไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยในภาคตะวันออก และภาคใต้ทั้งสองฝั่งทะเล
...
ถือเป็นปูสองน้ำ ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในทะเล แต่พอถึงฤดูสืบพันธุ์ในช่วงสิงหาคม-ธันวาคม ปูแป้นจำนวนมากอพยพเข้าไปวางไข่ในแหล่งน้ำจืด
ลูกๆปูแป้นจะอาศัยในน้ำจืด และน้ำกร่อยจนเป็นตัวเต็มวัยถึงจะออกไปหากินในทะเล.