นายสุทธิ มะหะเลา นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย เกษตรกรดีเด่นสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยปี 2560 ออกมาแนะถึงการกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำไทยแบบตัดรากถอนโคนว่า การช็อตไฟฟ้าเป็นอีกแนวทางที่จะสามารถกำจัดปลาหมอชนิดนี้ออกจากแต่ละแหล่งน้ำได้แบบ 100% แม้วิธีการนี้จะผิดกฎหมาย แต่สามารถผ่อนผันได้ไม่ต่างจากการใช้อวนรุน เพราะเป็นวิธีที่กำจัดปลาชนิดนี้ได้ทั้งแหล่งน้ำ แต่ต้องมีมาตรการต่างๆ ควบคุมอย่างรัดกุม

ทั้งนี้การช็อตไฟฟ้าในที่นี้ ไม่ใช่ทำกันเหมือนชาวบ้านที่เคยลักลอบทำกันมา แต่ควรให้ผ่านการศึกษาจากวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญก่อน โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น กำลังไฟที่จะใช้ ระยะสายไฟ ที่ไม่ก่ออันตรายให้ผู้ปฏิบัติการ มีเรือคอยตามหัวท้าย รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ที่ต้องปลอดภัยต่อทั้งผู้ปฏิบัติงานเองและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องกระทบต่อปลาหรือสัตว์น้ำอื่นให้น้อยที่สุด

“เมื่อวิธีการตก ผลึก ให้สุ่มทอดแหในแหล่งน้ำที่จะลงมือปฏิบัติ แล้วดูเปอร์เซ็นต์เทียบ เคียงระหว่างปลาหมอคางดำกับปลาชนิดอื่น ถ้าปลาชนิดอื่นยังเยอะอยู่ ยังไม่ต้องทำในแหล่งน้ำนี้ ให้ใช้วิธีการตามมาตรการภาครัฐไปก่อน แต่ถ้ามีเปอร์เซ็นต์ปลาหมอคางดำมากกว่า ลงมือได้เลย โดยแจ้งไปยังคนในพื้นที่ ว่าจะมีการล้างบางกำจัดปลาหมอคางดำด้วยการช็อต ป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับอันตราย เมื่อเสร็จสรรพทุกขั้นตอนแล้ว ประกาศให้ชาวบ้านรอตักไปกินหรือขาย ขณะที่พ่อค้าสามารถมาตั้งรถรอรับซื้อไปขายต่อยังจุดรับซื้อของแต่ละจังหวัดได้”

...

สำหรับการป้องกันปลาหมอคางดำแพร่ระบาดแหล่งน้ำไทย หรือบ่อเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจอื่น โดยเฉพาะปลากะพง นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย แนะเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำมีวิธีหลีกเลี่ยงไข่ปลาธรรมชาติ ที่มากับน้ำสูบเข้าบ่อ โดยใช้ถุงกรอง 2 ชั้น แม้จะมีไข่หลุดรอดไปบ้าง แต่จะเหลือน้อย สุดท้ายปลาเล็กจะกลายเป็นเหยื่อของปลาใหญ่ตามกฎธรรมชาติ แต่หากไม่มีการกรองด้วยจำนวนปลาหมอคางดำที่อาจติดเข้ามาจำนวนมาก ปลาที่เลี้ยงก็อาจกินไม่หมด สุดท้ายโตมาแย่งอาหารปลาเศรษฐกิจที่มีราคาค่อนข้างสูง.

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่