นายกฤช เอี่ยมฐานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) เผยถึงผลศึกษาการผลิตและการตลาดพืชทางเลือก ปลูกทดแทนข้าวนาปรังของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการทำนา โดยเฉพาะนาปรัง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฝนทิ้งช่วง และจากการที่เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 68 ราย ได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาปรัง โดยปลูกพืชทางเลือกทดแทนของจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ปี 2565 ข้าวนาปรังมีต้นทุนการผลิตไร่ละ 4,367.18 บาท/รอบการผลิต ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 4,502.25 บาท/รอบการผลิต ได้กำไรไร่ละ 135.07 บาท/รอบการผลิต
“โดยข้าวนาปรังมีการใช้น้ำในการเพาะปลูกไร่ละ 1,100 ลูกบาศก์เมตร/รอบการผลิต ในขณะที่พืชทางเลือก 7 ชนิด ได้แก่ แหนแดง ถั่วเขียว ข้าวโพดหวาน แตงโม ฟักทอง ฟักแฟง และปอเทือง จะใช้น้ำในการเพาะปลูกเพียงไร่ละ 472 ลูกบาศก์เมตร/รอบการผลิต ใช้น้ำน้อยไม่ถึงครึ่งหนึ่งของการทำนา”
...
ผอ.สศท.6 เผยอีกว่า ถ้าเกษตรกรจะปลูกพืชทางเลือกทดแทน เพื่อลดการทำนาปรัง พืชทางเลือกที่น่าสนใจและสร้างรายได้ดีให้เกษตรกรในพื้นที่ฉะเชิงเทรา 4 อันดับแรก ได้แก่ แหนแดง มีต้นทุนการผลิตไร่ละ 10,923.11 บาท/รอบการผลิต ให้ผลผลิตไร่ละ 544 กิโลกรัม/รอบการผลิต ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 32,640 บาท/รอบการผลิต จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิหรือกำไรไร่ละ 21,716.89 บาท/ รอบการผลิต
ถั่วเขียว มีต้นทุนการผลิตไร่ละ 3,234.34 บาท/รอบการผลิต ให้ผลผลิตไร่ละ 120 กิโลกรัม/ รอบการผลิต ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 4,200 บาท/รอบการผลิต จะได้กำไรเฉลี่ยไร่ละ 965.66 บาท/รอบการผลิต
ข้าวโพดหวาน มีต้นทุนการผลิต 5,568.05 บาท/รอบการผลิต ให้ผลตอบแทนไร่ละ 1,000 กิโลกรัม/ รอบการผลิต ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 6,500 บาท/รอบการผลิต ได้กำไรไร่ละ 931.95 บาท/รอบการผลิต
แตงโม มีต้นทุนการผลิตไร่ละ 13,381.64 บาท/รอบการผลิต ให้ผลผลิตไร่ละ 2,210.00 กิโลกรัม/รอบการผลิต ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 15,470.00 บาท/รอบการผลิต ได้กำไรเฉลี่ยไร่ละ 2,088.36 บาท/รอบการผลิต.