“แม้ไทยจะครองแชมป์ส่งออกข้าวมายาวนาน แต่ในปี 2565 เราได้เสียแชมป์ให้กับเวียดนาม จนล่าสุดผลผลิตของข้าวไทยและการแข่งขันข้าวในตลาดโลกร่วงลงมาอยู่อันดับ 3 ขณะที่การคาดการณ์ล่าสุดของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า การผลิตข้าวไทยจะลดลง 871,000 ตัน ข้าวเปลือกลดลง 3.27% เหลือ 25.8 ล้านตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566-2567 จากปรากฏการณ์เอลนีโญ นอกจากนั้น ผลผลิตข้าวของไทยยังมีความเสี่ยงจากแมลงศัตรูพืช โรคในนาข้าว เกษตรกรจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการป้องกัน และจัดการเพื่อควบคุมโรค และวงจรของโรคในพื้นที่ปลูกข้าวให้ได้มากที่สุด เพราะถือว่าเกษตรกรไทยยังรู้ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย”
นางสาวสุนิสา จัตุพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จํากัด บอกถึงอุปสรรคสำคัญในการผลิตข้าวอันเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยเฉพาะโรคในนาข้าว อาทิ โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล ที่ทั้งหมดเกิดจากเชื้อรา...โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะช่วงข้าวกัดหางปลาทู ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการสร้างรวง และการพัฒนาเกสร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ข้าวเต็มเมล็ด
...
ผอ.ฝ่ายการตลาด ซินเจนทา กล่าวอีกว่า ด้วยความท้าทายดังกล่าว ทางบริษัทจึงได้คิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ที่สามารถช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรชาวนาให้สามารถปลูกข้าวได้โดยปราศจากโรคพืช เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ จนประสบ ความสำเร็จได้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ชื่อว่า “รีเฟลกซ์ อีโว่” พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้การป้องกันโรคในนาข้าวให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวนา ณ ศูนย์การเรียนรู้ซินเจนทา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจาก จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี พิษณุโลก และนนทบุรี กว่า 400 คน เข้าร่วมงาน
สำหรับ “รีเฟลกซ์ อีโว่” ได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปี 2021 สามารถป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่างในนาข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงมีสารออกฤทธิ์เรียกว่า “ไอโซไพราแซม” ทำหน้าที่เกาะติดกับใบพืชเคลือบอยู่ที่ชั้นผิวใบหลังจากทำการฉีดพ่นสาร สามารถช่วยปกป้องต้นข้าว แม้ต้องเผชิญอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝนหรือแสงแดด และปกป้องพืชได้ยาวนาน ซึ่งหากข้าวถูกโรคเชื้อราหรือโรคพืชเข้าทำลาย “ไอโซไพราแซม” จะทำหน้าที่ล็อกเชื้อราและยับยั้งการทำงานของเชื้อรา และกำจัดโรคพืชให้หมดไป ทำให้ต้นข้าวปลอดจากโรคเชื้อรา มีเกสรผสมสมบูรณ์ ออกรวงอย่างสม่ำเสมอ และเมล็ดแกร่ง ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ จากการทดลองใช้จริงจากเกษตรกร โดย นายณัฐวุฒิ ผึ้งเถื่อน และ นางสาวพรรษา น้อยเปลี่ยน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยแบ่งพื้นที่ทดลองใช้ 10 ไร่ พบว่า ข้าวที่ปลูกพันธุ์เดียวกันมีใบธงสีเขียวและมีขนาดใหญ่กว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ ไม่มีโรค ไม่เป็นรากระถิน ได้ผลผลิตประมาณ 10-11 เกวียน ส่วนแปลงที่ไม่ใช้ ได้ผลผลิต 9 เกวียน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น บวกกับการมีตัวช่วยป้องกันโรคในนาข้าว ยิ่งทำให้เรามีผลผลิตที่ดี ข้าวมีเมล็ดที่ใส สวย มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถนำไปขายเป็นแม่พันธุ์ดีได้อีกด้วย.
...
กรวัฒน์ วีนิล
คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม