(ภาพ: พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ให้ความรู้กับชาว ต.เชียงรากใหญ่ ตามนโยบายโครงการเน้นการบำบัดน้ำเสีย เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางให้ชาวบ้านร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนน่าอยู่ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม)

การสร้างชุมชนต้นแบบจัดการระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำ รวมทั้งระบบนิเวศวิทยา

หน่วยงานหลักที่ต้องดูแลรับผิดชอบก็คงหนีไม่พ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะมีหน้าที่โดยตรงและเป็นด่านแรกที่ต้องจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

เช่นเดียวกับพื้นที่ จ.ปทุมธานี มักจะประสบปัญหาน้ำเน่าเสียมาเป็นระยะเวลานานเช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่หมู่ 6 และ 7 ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก และในพื้นที่ยังมีโรงผลิตน้ำดิบของการประปานครหลวง ส่งสายการผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

ดังนั้น เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ จึงได้ริเริ่มโครงการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบขึ้นมา เพื่อเป็นต้นแบบของการบำบัดน้ำเสีย

นายเสวก ประเสริฐสุข นายก อบต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อธิบายการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีคืนกลับสู่ชุมชน.
นายเสวก ประเสริฐสุข นายก อบต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อธิบายการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีคืนกลับสู่ชุมชน.

...

นายเสวก ประเสริฐสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เชียงรากใหญ่ เปิดเผยว่า ชุมชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีประชาชนก่อสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำประมาณ 350 ครัวเรือน

เส้นทางการคมนาคมเป็นทางเดินเท้าเล็กๆและแคบมากเข้าถึงยาก มีความกว้างประมาณ 1.2 เมตร ไม่สามารถใช้รถยนต์หรือรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าสู่ชุมชน เป็นปัญหาด้านสุขาภิบาลต้องแก้ไขด่วน

โดยเฉพาะการขับถ่ายอุจจาระ บ้านของประชาชนบางหลังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ ปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำโดยตรง และส่วนใหญ่บ้านที่มีห้องน้ำตามสุขลักษณะ เมื่อห้องน้ำเต็ม รถที่จะเข้ามาขนถ่ายของเสียก็เข้าไม่ถึง วิธีที่สะดวกที่สุดคือ การปล่อยของเสียลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง

การวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ประกอบด้วย สิ่งปฏิกูล น้ำเสียที่เกิดจากการผลิตและอุปโภคในครัวเรือน ขยะมูลฝอย จึงเกิดเป็นที่มาของโครงการ

“สร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย และขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน”

น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วปล่อยลงคลองในพื้นที่ทำเกษตร สะอาดใส ตามโครงการ “สร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย และขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน”
น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วปล่อยลงคลองในพื้นที่ทำเกษตร สะอาดใส ตามโครงการ “สร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย และขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน”

ขอบเขตการดำเนินงานได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปี 2562 แยกเป็นระยะที่ 1 จ้างที่ปรึกษาศึกษา สำรวจและออกแบบแปลนสำหรับนำไปก่อสร้างจำนวน 6.5 ล้านบาท ระยะที่ 2 จ้างเหมาก่อสร้างระบบตามแปลนจำนวน 24,130,000 บาท

นายเสวก เปิดเผยอีกว่า ทีมงานเริ่มสำรวจข้อมูลพื้นที่ชุมชนด้านกายภาพ ถนน ลำน้ำ จำนวนประชากรและครัวเรือน ด้านเศรษฐกิจ สังคม ปริมาณสิ่งปฏิกูลและของเสีย ปริมาณน้ำทิ้ง และน้ำเสียในครัวเรือน ปริมาณขยะมูลฝอย และข้อมูลอื่นๆที่รองรับต่อการออกแบบตามโครงการ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม Arcview ในการประมวลผล

จากนั้นตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งในห้องปฏิบัติการในเบื้องต้นก่อนดำเนินโครงการ ได้แก่ อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณไขมันและค่าบีโอดี โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนอย่างน้อย 20 ครัวเรือน

ถังบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อพักน้ำให้เกิดการตกตะกอนแล้วปั๊มน้ำเข้าเครื่องกรองคลอรีน ก่อนจ่ายน้ำใช้.
ถังบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อพักน้ำให้เกิดการตกตะกอนแล้วปั๊มน้ำเข้าเครื่องกรองคลอรีน ก่อนจ่ายน้ำใช้.

...

“ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย เริ่มจากน้ำเสียในชุมชน ไหลลงถังบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น ส่งไปยังท่อรวบรวมน้ำเสีย ไปยังบ่อบำบัดน้ำเสียไหลไปกองอยู่ในถังบำบัดน้ำเสียที่ 1 และถังบำบัดน้ำเสียที่ 2 ผ่านขั้นตอนผสมคลอรีน แล้วจ่ายน้ำกลับคืนร่องน้ำไหลลงแหล่งผลิตน้ำประปาอย่างมีคุณภาพ” นายเสวก กล่าว

แผงควบคุมการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสีย ทำงาน 24 ชั่วโมง.
แผงควบคุมการทำงานของเครื่องบำบัดน้ำเสีย ทำงาน 24 ชั่วโมง.

สำหรับแนวทางโครงการดังกล่าวนี้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีต ผบช.น. ซึ่งประกาศตัวเป็น ว่าที่ผู้สมัครเลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานี ได้ให้การสนับสนุนและร่วมวางแนวทางมาโดยตลอด

เพื่อมุ่งหวังต้องการให้ชาวปทุมธานีรักษาสิ่งแวดล้อมและดูแลความเป็นอยู่ของชาวบ้านสานต่อแนวทางขยายวงกว้าง พร้อมทั้งเป็นต้นแบบให้อีกหลายชุมชนนำไปใช้

เจ้าหน้าที่และชาวบ้านล่องเรือไปเก็บผักตบชวา ส่งเข้าเครื่องย่อยทำเป็นปุ๋ยแจกเกษตรกร.
เจ้าหน้าที่และชาวบ้านล่องเรือไปเก็บผักตบชวา ส่งเข้าเครื่องย่อยทำเป็นปุ๋ยแจกเกษตรกร.

...

นอกจากนี้ยังจัดเก็บผักตบชวาที่ลอยเป็นจำนวนมากในแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วไหลลงลำคลอง ร่องสวน ปิดกั้นการจราจรทางน้ำ ทำให้น้ำเสีย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย

เจ้าหน้าที่เย็บถุงปุ๋ยจากผักตบชวาจัดเรียงเป็นระเบียบ ก่อนแจกให้เกษตรกรช่วยลดค่าใช้จ่าย.
เจ้าหน้าที่เย็บถุงปุ๋ยจากผักตบชวาจัดเรียงเป็นระเบียบ ก่อนแจกให้เกษตรกรช่วยลดค่าใช้จ่าย.

ทาง อบต.เชียงรากใหญ่ ได้นำเทคโนโลยีทันสมัย เก็บผักตบชวามาผ่านกระบวนการย่อย แล้วทำเป็นปุ๋ยแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มอบน้ำดื่มเป็นกำลังใจแก่ชาวบ้านที่พายเรือช่วยเก็บผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การจราจรทางน้ำสะดวกยิ่งขึ้น.
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มอบน้ำดื่มเป็นกำลังใจแก่ชาวบ้านที่พายเรือช่วยเก็บผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การจราจรทางน้ำสะดวกยิ่งขึ้น.

...

รวมทั้งการดูแลเรื่องถนนหนทาง อบต.เชียงรากใหญ่ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เทปูนคอนกรีตในทุกพื้นที่ สอดรับกับการขยายตัวในพื้นที่อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งต้องพัฒนาควบคู่กับความเป็นอยู่ของชุมชน จัดระบบสุขาภิบาล ตั้งจุดคัดแยกขยะในชุมชน เพื่อให้หน้าบ้านน่ามอง สร้างภูมิทัศน์ให้เป็นชุมชนน่าอยู่ และเป็นระเบียบ
โดยมุ่งหวังให้เป็นชุมชนต้นแบบในอนาคตต่อไป.

สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม