ผงาดศูนย์กลางศิลปหัตถกรรมอาเซียน
ก็เพราะมีพันธกิจในการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเล็งเห็นถึงคุณค่าของงานหัตถกรรมจากฝีมือราษฎรไทย ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ “อัมพวัน พิชาลัย” ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) จึงเดินหน้าปลุกปั้นศูนย์องค์ความรู้งานหัตถศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ พร้อมวาดฝันอยากพลิกโฉม “ศักดิ์สิทธิ์” ให้เป็นเซ็นเตอร์ด้านศิลปหัตถกรรมแห่งภูมิภาคอาเซียน
เพื่อมุ่งสู่จุดหมายที่วาดฝันไว้ “คุณอัมพวัน” บอกเล่าถึงแนวทางการพัฒนา 4 ด้านหลัก ในปี 2562 ซึ่งจะเป็นอาวุธสำคัญในการยกระดับประเทศไทยสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านศิลปหัตถกรรมของอาเซียน นั่นคือ การพัฒนาบุคลากร, ผลิตภัณฑ์, การตลาด และเครื่องมือ (ระบบ Archives)
...
ภารกิจอันดับแรกคือ “การพัฒนาคน” มีการทุ่มเทมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ผ่านการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทรงคุณค่าของวงการ ไม่ว่าจะเป็นการเชิดชูครูศิลป์ของแผ่นดิน, ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่ออนุรักษ์คุณค่าภูมิปัญญา, ทักษะฝีมือ และองค์ความรู้เชิงช่างมิให้สูญหายไป ขณะเดียวกัน ก็เตรียมความพร้อม
สำหรับการส่งต่อไปสู่รุ่นลูกหลาน พร้อมผลักดันให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชนหัตถกรรมเป็น “Craft Cluster” เพื่อแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและเทคนิค ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มอำนาจต่อรองในเชิงพาณิชย์ รวมถึงขยายความร่วมมือไปสู่ชุมชนในต่างประเทศ
ด้าน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์” มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมสู่ความร่วมสมัย ผ่านโครงการ “SACICT Craft Trend” เน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด โดย “ศักดิ์สิทธิ์” สร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังสนับสนุนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านเรื่องราวเบื้องหลังงานฝีมือให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้คน ภายใต้แนวคิด “Retell The Detail” การบอกเล่าเรื่องราวท้องถิ่นผ่านมุม-มองที่แตกต่างอย่างมีชั้นเชิง
สำหรับ “การพัฒนาตลาด” มีการสร้างเครือข่ายการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น คิง เพาเวอร์, ไอคอนสยาม และสตาร์บัคส์ รวมถึงเพิ่มช่องทางแอปพลิเคชัน, การเปิด SACICT SHOP และจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่องทุกปี ไม่ว่าจะเป็นงานอัตลักษณ์แห่งสยาม, Crafts Bangkok, ฝ้ายทอใจ และชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี นอกจากนี้ ยังร่วมกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศนำงานศิลปหัตถกรรมไทยไปจัดแสดงและจำหน่ายในต่างประเทศ โดยกลางปีนี้ “ศักดิ์สิทธิ์” เป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับเชิญให้ร่วมเวที “REVELATIONS” ซึ่งเป็นงานแสดงไฟน์อาร์ตใหญ่ที่สุดของยุโรป ณ ประเทศฝรั่งเศส
...
อีกหนึ่งอาวุธสำคัญคือ “การพัฒนาเครื่องมือ” (ระบบ Archives) โดยวางระบบบิ๊กเดต้าสืบค้นข้อมูลงาน
หัตถกรรมในรูปแบบจดหมายเหตุ นำร่องด้วยการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ใน 10 ประเภทหลัก ได้แก่ เครื่องหิน, เครื่องดิน, เครื่องโลหะ, เครื่องจักสาน, เครื่องไม้, เครื่องกระดาษ, เครื่องทอ, เครื่องรัก, เครื่องหนัง และหัตถกรรมอื่นๆ โดยรวบรวมองค์ความรู้จากตัวบุคคลผ่านครูและทายาท รวมถึงแหล่งเรียนรู้ ทั้งพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สืบสานภูมิปัญญาของไทย
...
เนื่องจากปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ทาง “ศักดิ์สิทธิ์” ยังเป็นโต้โผใหญ่จัดงานส่งเสริม “ปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน” ภายใต้ความร่วมกับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านศิลปหัตถกรรมในอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายนักสร้างสรรค์หัตถกรรมอาเซียน ก่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญา และพัฒนางานศิลปหัตถกรรมของอาเซียนให้คงอยู่ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ สร้างภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความยั่งยืนทางวัฒนธรรม ยั่งยืนทางวัฒนธรรม.
...