ศาลแพ่งยกคำร้อง นปช. ร้องขอศาลห้ามทหารใช้กำลังสลายการชุมนุม ชี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราว....

วันที่ 14 มี.ค.ที่ศาลแพ่ง นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้มอบอำนาจให้ทนายความ ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้า สลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธสงครามและห้ามมิให้มีการปิดกั้นหรือขัดขวาง ไม่ให้รถขนอาหารและน้ำดื่มเข้าไปบริเวณพื้นที่การชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ โจทก์ฟ้องว่า

กรณีที่ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สั่งการให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีประกาศ ศอฉ. เรื่อง ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ฉบับลงวันที่ 13 พ.ค.2553 เพื่อห้ามมิให้นำอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรคส่งถึงภายในบริเวณที่ชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมาย คำสั่งศาล โดยไม่สุจริต โจทก์ จึงขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งห้ามมิให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติตามคำสั่งของ นายอภิสิทธิ์ กับพวก ที่สั่งปิดกั้นเส้นทางคมนาคม และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้เจ้าหน้าที่รัฐ ที่เข้าสลายการชุมนุมใช้อาวุธสงครามใดๆ กระทำต่อประชาชนผู้ร่วมชุมนุมโดยเด็ดขาด

ต่อมาช่วงค่ำศาลแพ่งมีคำสั่ง โดยพิเคราะห์คำร้องประกอบคำไต่สวนพยานโจทก์แล้วเห็นว่า การที่นายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ ในฐานะผอ.การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน กำกับควบคุม สั่งการให้ พล.อ.อนุพงษ์ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีประกาศ ศอฉ. ดังกล่าว ต่อมามีการปฏิบัติการตามประกาศนั้น เพื่อสกัดกั้นมิให้ประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่การชุมนุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเข้ามาสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมเดิม บริเวณสี่แยกราชประสงค์นั้น เป็นมาตรการหนึ่งในการสลายการชุมนุมเพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองไม่ กระทบต่อความมั่นคงของรัฐและไม่ส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอั เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ที่จำเป็นต้องดำเนินการ แม้การปฏิบัติการดังกล่าวจะทำให้ผู้ชุมนุมได้รับความกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่ ตามคำร้องอยู่ในมาตรการการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่ง เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ศาลจึงมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้

ส่วนที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธสงครามต่อประชาชนผู้เข้า ร่วมชุมนุมนั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงได้ความจากนายคารม พลทะกลาง ทนายความโจทก์ว่า เหตุการณ์ใช้อาวุธต่อบุคคลที่ระบุในคำร้องไม่อาจ ยืนยันได้ว่าเป็นการกระทำของฝ่ายใด ประกอบกับการที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการสลายการชุมนุมเพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง โดยมีอาวุธติดตัว หากมีความจำเป็นสามารถนำมาใช้เพื่อระงับยับยั้งได้ไปตามสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือป้องกันตนเองได้ อันเป็นไปตามหลักสากล กรณียังไม่มีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง.

...