รายงานสภาพภูมิอากาศของโลกใน 9 เดือน ของปี 2016 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นรุนแรง ส่งผลด้านลบต่อภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ประชากรมากกว่า 60 ล้านคน ได้รับผลกระทบ...

สภาพภูมิอากาศของโลกในปี 2016

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ค.ศ. 2016 ว่า สภาวะอากาศที่รุนแรงและสภาพภูมิอากาศของโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นรุนแรงในปี 2015-2016 ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบอย่างหนักต่อภาคการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารทำให้ประชากรมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์นี้ (ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ; Food and Agriculture Organization: FAO)

อุณหภูมิ

อุณหภูมิทั่วโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2016 อยู่ที่ประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม และ 0.88 องศาเซลเซียสเหนืออุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปี 1961-1990 (ค่าปกติ) ในช่วงต้นของปี 2016 อุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ที่มีค่าความผิดปกติของอุณหภูมิรายเดือนอยู่ที่ +1.12 องศาเซลเซียส และ +1.09 องศาเซลเซียสตามลำดับ

สำหรับค่าความผิดปกติของอุณหภูมิในเดือนตุลาคมนั้น European Centre for Medium Range Weather Forecasts(ECMWF) ชี้ให้เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับค่าความผิดปกติของอุณหภูมิในเดือนพฤษภาคมและกันยายน อุณหภูมิบนแผ่นดินส่วนใหญ่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 1961-1990 สำหรับในส่วนของอาร์กติกรัสเซีย รอบๆ แม่น้ำอ็อบ (Ob River) และ Novaya Zemlya อุณหภูมิจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 องศาเซลเซียส

ส่วนพื้นที่อาร์กติกบริเวณอื่นๆ ในรัสเซีย, อลาสกา และทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส พื้นที่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในแถบซีกโลกเหนือนอกเขตทรอปิคมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 1 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิแถบขั้วโลกใต้มีความผิดปกติน้อย แต่ก็ยังคงมีหลายพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า รวมถึงแถบอเมริกาใต้ ตอนเหนือ, ตะวันออกของออสเตรเลีย 

...

มหาสมุทร

อุณหภูมิท้องทะเลส่วนใหญ่มีค่าสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว และการหยุดชะงักของระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญในผืนน้ำบริเวณทรอปิค รวมถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และประเทศทางหมู่เกาะแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิจิ ประเทศคิริบาส เป็นต้น และยังมีปะการังกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ที่ตายในเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

นอกจากนั้น น้ำทะเลทั่วโลกมีระดับสูงขึ้นประมาณ 15 มิลลิเมตร ในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน 2014 ถึงกุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งสาเหตุเกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ หลังจากนั้นระดับน้ำทะเลจึงเริ่มคงที่

ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกตลอดทั้งปี ในปี 2015 พุ่งสูงขึ้นแตะ 400 ppm เป็นครั้งแรก และจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเกิดสถิติใหม่ขึ้นในปี 2016 ที่เคปกริม (Cape Grim) ประเทศออสเตรเลีย ระดับของ CO2 เฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2016 อยู่ที่ 401.42 ppm ขณะที่ในเดือนสิงหาคม 2015 มีเพียง 398.13 ppm. ที่เมานาโลอา (Mauna Loa) เมืองฮาวาย ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยรายสัปดาห์ของวันที่ 23 เดือนตุลาคมอยู่ที่ 402.07 ppm ขณะที่วันเดียวกันในปี 2015 ค่าความเข้มข้นอยู่ที่ 398.50 ppm นอกจากนั้นในเดือนพฤษภาคม 2016 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าความเข้มข้นอยู่ที่ 407.7 ppm ซึ่งถือว่าเป็นค่าสถิติสูงที่สุดของค่าบันทึกรายเดือน

การปกคลุมของน้ำแข็งและหิมะ
การขยายพื้นที่ของน้ำแข็งบริเวณทะเลอาร์กติกต่ำกว่าค่าปกติตลอดทั้งปี ค่าต่ำสุดรายฤดูในเดือนกันยายน คือ 4.14 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดครั้งที่สองที่เท่ากับค่าต่ำสุดในปี 2007 ส่วนในช่วงหน้าหนาว ค่าสูงสุดที่บันทึกได้ในเดือนมีนาคมก็ยังคงถือว่าต่ำที่สุดในบันทึกข้อมูลสถิติ อีกทั้งฤดูใบไม้ร่วงในปีนี้ยังนำพาความหนาวเหน็บมาถึงช้ากว่าปกติอีกด้วย

...

การละลายของแผ่นน้ำแข็งในแถบกรีนแลนด์ยังคงที่อยู่ในเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1990-2013 ซึ่งมีการละลายของน้ำแข็งเพิ่มขึ้นรุนแรงในเดือนกรกฎาคม แต่ก็ยังคงน้อยกว่าสถิติการละลายในปี 2012

เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรง
เหตุการณ์ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากในรอบปีนี้ ได้แก่ เหตุการณ์พายุแมธธิว (Matthew) ในเดือนตุลาคม มีจำนวนผู้เสียชีวิต 546 คน และบาดเจ็บ 438 คน หลังจากพายุลูกนี้เคลื่อนผ่านประเทศเฮติไป ก็ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศคิวบาและบาฮามาส ก่อนจะเคลื่อนตัวเลียบชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาและก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่จนเกิดเหตุการณ์ดินถล่มในตอนใต้ของเมืองคาโรลิน่า และพายุไต้ฝุ่นไลออนร็อก (Lionrock) ก่อให้เกิดอุทกภัยซึ่งมีประชาชนล้มตายจำนวนมากในเกาหลีเหนือ และพายุไซโคลนวินสตัน Winston ก็เป็นพายุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศฟิจิมากที่สุด โดยรวมแล้วมีพายุทั้งหมด 78 ลูกทั่วโลก ในปี 2016 (นับถึงเดือน ตุลาคม 2016)

แม่น้ำแยงซีในประเทศจีนมีอุทกภัยใหญ่ในฤดูร้อนเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1999 คร่าชีวิตผู้คนประมาณ 310 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

...

อุทกภัยและแผ่นดินถล่มในประเทศศรีลังกาในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม คร่าชีวิตผู้คนและสูญหายไปกว่า 200 คน อีกทั้งยังต้องอพยพผู้คนอีกหลายร้อยหลายพันคน

ปริมาณฝนตามฤดูกาลที่มากกว่าปกติในซาเฮล (Sahel) ก่อให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ (NigerRiver Basin) โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำสูงสุดในรอบ 50 ปี

ที่ประเทศมาลีมีคลื่นรังสีความร้อนเกิดขึ้นมากมายในปี 2016 เริ่มจากช่วงต้นปีเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในแถบแอฟริกาใต้ ภาวะแล้งต่อเนื่องส่งผลเลวร้ายเป็นอย่างมาก

สำหรับในเอเชีย เมืองมิตริบาห์ประเทศคูเวต ได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่ 54 องศาเซลเซียส ในวันที่ 21 กรกฎาคม ซึ่งจะถือเป็นสถิติอุณหภูมิที่สูงที่สุดในประเทศแถบเอเชียต่อไป

ความสูญเสียจากไฟป่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่รัฐแอลเบอร์ตา เพลิงไหม้ลุกลามกินพื้นที่ประมาณ 590,000 เฮกเตอร์ ซึ่งนับเป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่มากที่สุดในประเทศ มีการอพยพผู้คนเกือบทั้งเมืองและประมาณ 2,400 อาคารถูกทำลาย

ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่บนโลก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลอย่างมากต่อปริมาณฝน ผลกระทบต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศระยะยาวและการเปลี่ยนแปลงรายปีนั้นสามารถทำให้สภาพสังคมมนุษย์ย่ำแย่ลงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อม

จากข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) จำนวนผู้โยกย้ายถิ่นฐานถูกประมาณการณ์ว่าจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เนื่องจากความถี่และความรุนแรงที่มากขึ้นจากมหันตภัยธรรมชาติ การแก่งแย่งและการต่อสู้กันเพื่อทรัพยากรที่เหลือน้อย และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลซึ่งส่งผลต่อแนวชายฝั่งและพื้นที่อยู่อาศัย.

...

(ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา)