ถามตรงๆ กับจอมขวัญ วันนี้ พูดคุยถึงเรื่องข่าวว่า คสช.จะยกเลิกรถตู้สาธารณะข้ามจังหวัด ไม่ให้วิ่งจนมีเสียงค้านจากกลุ่มรถตู้ เลยต้องมาคุยกับ พล.ต.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้รับผิดชอบจัดระเบียบรถ ว่าตกลงจะทำจริงหรือไม่อย่างไร...
ถามตรงๆ กับจอมขวัญ ในไทยรัฐนิวส์โชว์ วันนี้ พูดคุยถึงเรื่องที่หลังจากมีกระแสข่าว คสช.จะยกเลิกรถตู้สาธารณะข้ามจังหวัด ไม่ให้วิ่ง จนบรรดาผู้ขับรถตู้สาธารณะแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะนอกจะไม่มีอาชีพแล้ว ยังทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกในการเดินทาง ซึ่งคืนนี้ เราจะมาพูดคุยกับ พล.ต.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ผู้รับผิดชอบเรื่องจัดระเบียบรถตู้ และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ว่าเรื่องนี้เท็จจริงเป็นอย่างไร? เพราะคนในสังคมกำลังสงสัย อีกทั้งยังไม่อาจจะจินตนาการได้ว่าหากไม่มีรถตู้ขึ้นมาจริงๆ แล้วผู้คนที่ต้องพึ่งพารถตู้ไปทำงาน กลับบ้าน ไปเที่ยวหรือไปเรียนจะใช้ชีวิตอย่างไร มาฟังข้อเท็จจริงว่าตกลงจะยกเลิก หรือ ยังไม่ยกเลิกตอนนี้แต่มีแผนจะยกเลิก และการวิเคราะห์เรื่องนี้ ใน ถามตรงๆ กับจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์
...
ชมคลิป ถามตรงๆ กับจอมขวัญ : ยกเลิกรถตู้จริงหรือไม่? | ไทยรัฐนิวส์โชว์
พล.ต.เฉลิมพล กล่าวในรายการตอนหนึ่งว่า ตามที่ได้รับมอบหมายจาก คสช. คือ การจัดระเบียบรถตู้และนำเข้าระบบ ถามว่าจะยกเลิกหรือไม่ คงเป็นเรื่องของการพัฒนาการระบบการขนส่งทางบกที่ต้องพิจารณาต่อไป นอกเหนือจากนี้เกินกว่าความรับผิดชอบที่ได้รับมา แต่ขอชี้แจงว่าการจัดระบียบมี 4 นโยบาย ได้แก่ 1.ความปลอดภัย 2.การกีดขวางการจราจร 3.เรื่องผู้มีอิทธิพล เจ้าของวินต่างๆ และ 4.เรื่องราคาค่าโดยสารที่เป็นธรรม จากที่ได้ดำเนินการตั้งแต่ มิ.ย.2557 กล่าวได้ว่า ได้ทำหมดแล้วมีการนำรถเข้าระบบ มีการพูดคุยสร้างจิตสำนักแก่คนขับ เหลือแค่สถานที่ ที่เป็นสถานีขนส่งที่ยังทำไม่เสร็จ ยังไม่อาจตอบได้ว่าจะยกเลิกหรือไม่ แต่ก็มีการพูดคุยแผนงานอยู่ ส่วนรถตู้ที่วิ่งข้ามจังหวัดที่เป็นข่าว ก็ได้เข้ามาดูแลจัดระเบียบให้เป็นไปตามทั้ง 4 นโยบาย เนื่องจากรถโดยสารสาธารณะแบบนี้มีปัญหาด้านความปลอดภัย
ดร.สุเมธ กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยของรถโดยสารประจำทาง กำหนดให้วิ่งได้ไม่เกิน 300 กิโลเมตร หรือ ขับราวๆ 4 ชั่วโมง แต่ปัญหาอยู่ที่รถตู้ที่วิ่งไกล ใช้ความเร็วสูง และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุง่าย เกิดแต่ละครั้งสูญเสียเยอะ ต่อมาคือ มาตรฐานความปลอดภัย ที่เราพบในรถตู้ต่างจังหวัด คือ บรรทุกเกิน บางกรณียืนก็มี ระยะทางไกลหากวิ่งความคุ้มค่ายิ่งต่ำ เพราะต้นทุนหากเป็นรถใหญ่เก็บเงินค่าโดยสารจากผู้โดยสารได้หลายที่นั่ง ความคุ้มค่าย่อมสูงกว่า แต่เมื่อเป็นรถตู้ทำให้เกิดการแข่งขัน ทำรอบ แย่งผู้โดยสาร ระยะทาง 300 กิโลเมตรวันหนึ่งวิ่ง 3-4 รอบ มันอันตรายมาก บางครั้งจึงทำให้มีปัญหาด้านความปลอดภัยสูง …