มรสุมอ่อนกำลังต่อเนื่อง ประเทศไทยตอนบนฝนน้อยลง อากาศร้อนตอนกลางวัน แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง

สภาพอากาศวันนี้ 10 ส.ค. 2567

ลักษณะอากาศทั่วไป 10 สิงหาคม 2567

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นไว้ด้วย 


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

สภาพอากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

...

สภาพอากาศภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส  
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. 

สภาพอากาศภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม
สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส  
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

สภาพอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม 
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

สภาพอากาศภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

สภาพอากาศภาคใต้

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน: ขอให้ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

พยากรณ์อากาศสำหรับพรุ่งนี้ 10 ส.ค. 2567

ช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

...


ข้อควรระวัง: ในช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง