วปอ.66 ลงพื้นที่ภาคใต้ศึกษาดูงานสภาพแวดล้อม เพื่อนำประเด็นปัญหาต่างๆ สรุปแนวทางการพัฒนาทั้งภาคเศรษฐกิจ การเกษตร สู่การกำหนดเป้าหมายการวางยุทธศาสตร์พัฒนา รองรับการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่


เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 67 พล.ต.กฤตพันธุ์ รักใคร่ รอง ผอ.วปอ.สปท. เปิดเผยว่า การศึกษาดูงานพื้นที่ภาคใต้ของคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร  วปอ.66 (วปอ.66) ระหว่าง 25-29 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่เพื่อนำมาสรุปประเด็นปัญหาในด้านต่างๆ ซึ่งในการดูงานครั้งนี้คณะนักศึกษาได้สรุปแนวทางการพัฒนาจังหวัดภาคใต้ที่สำคัญ โดยเนื้อหาจะเริ่มต้นที่


บริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่จะกระทบต่อการพัฒนาภาคใต้  เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของภาคใต้พึ่งพาภาคบริการและภาคเกษตรเป็นหลัก 


1. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 

...


วิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ขีดจำกัดและประเด็นความท้าทายที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณา


1. มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและหลากหลายทั้ง 2 ฝั่งทะเล และทางบกตอนกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค 2. เป็นแหล่งทางการเกษตร (พืช ประมง ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน 3. เป็นประตูการค้าชายแดนเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซียผ่านด่านชายแดนทั้ง 5 แห่ง 


4. กระแสการท่องเที่ยวที่เน้นความปลอดภัย และการดูแลรักษาสุขภาพ 5. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยสารสนเทศ เป็นปัจจัยเอื้อให้ภาคการผลิตสำคัญของภาคมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น 6. นโยบายเชื่อมโยงโครงการข่ายคมนาคมขนส่ง

จากนั้นจึงกำหนดออกมาเป็น กรอบทิศทางการพัฒนาจังหวัดภาคใต้  และสามารถกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาภาคใต้ที่เด่นชัด เพื่อความยั่งยืน คือ

1. ยกระดับการบริการด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย และมีมูลค่าสูง (P : Premium Services & Tourism) 

2. การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการผลิตสำหรับสาขาเศรษฐกิจสำคัญของภาค (E : Environment & Natural Resources Reservation) 

3. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (A : Agro-based Industries and Organic Farmland) 

4. ส่งเสริมการทำงานวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมในการแปรรูปสินค้าเกษตรหลักของภาคเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (R : Research, Innovation & Technology) 

5. พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในและนอกภูมิภาค (L : Linked Economic Corridor) 


ดังนั้นการศึกษาดูงานของนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงสภาพแวดล้อมจุดแข็งจุดอ่อนของพื้นที่เพื่อคิดวิเคราะห์วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

...