ไว้เรียนรู้ - วรรณิภา รุ่งเรือง, อรุโณชา ภาณุพันธุ์ และ นรุตม์ เจียรสนอง มอบ “ห้องหนังเพื่อการเรียนรู้” ห้องที่ 61 เพื่อเปิดโลกแห่งการเรียนรู้สร้างรอยยิ้มให้เด็กผ่านสื่อภาพยนตร์และสารคดีสร้างสรรค์ โดยมี ศิริรัตน์ สุภาพทรง เป็นผู้รับมอบ ที่โรงเรียนโสตศึกษา จ.ชลบุรี วันก่อน.
ประสานประโยชน์คือหัวใจการ บริหารการเมือง หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ยักษ์ใหญ่สารพัดสีจำหน่ายมากที่สุดของประเทศ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566
- “ธนูเทพ” ประจำการรับใช้ท่านผู้อ่าน... หลังจากที่ “ท่านอ้น” วัชเรศร วิวัชรวงศ์ โอรสองค์ที่ 2 และ “ท่านอ่อง” นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ โอรสองค์ที่ 3 ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางกลับมาประเทศไทย ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยได้เดินทางไปยังสถานที่สำคัญๆหลายแห่ง อาทิ เดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เที่ยวชมแหล่งวัฒนธรรมไทย และไปกราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย โดยในการเดินทางมาครั้งนี้เป็นไปอย่างเรียบง่าย ท่ามกลางความสนใจและความปลาบปลื้มของประชาชนที่ได้สัมผัสพบเจอ รวมทั้งบรรดาผู้ที่ได้ติดตามข่าวสาร...ล่าสุด เมื่อเวลา 02.50 น. ของวันที่ 15 ส.ค. “ท่านอ้น” และ “ท่านอ่อง” และคนสนิท ได้ขึ้นเครื่องบินสายการบินเอมิเรตส์ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลับนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียบร้อยแล้วด้วยความอิ่มเอมใจ...จากนี้ประชาชนคนไทยคงต้องติดตาม และรอคอยฟังข่าวกันอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า เมื่อไหร่จะเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง
...
- ผ่างๆ...ท่ามกลางความมั่นอกมั่นใจของ แกนนำพรรคเพื่อไทย ว่าสามารถรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลได้แล้วประมาณ 278 เสียง พร้อมเตรียมเสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ให้ที่ประชุม รัฐสภา โหวตเลือกเป็นนายกฯทันที หาก ประธานสภา เรียกประชุม รัฐสภา เพื่อให้พิจารณาโหวตเลือกนายกฯ หลังจากมีความชัดเจนจาก ศาลรัฐธรรมนูญ ที่นัดพิจารณาเรื่องการรับคำร้องของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ขอตีความ มติรัฐสภา ที่ห้ามเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ ให้ รัฐสภา โหวตซ้ำรอบ 2 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 16 ส.ค....อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 14 ส.ค. วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้ออกมาระบุถึงการกำหนด วันประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตเลือก นายกรัฐมนตรี ว่าจะต้องขอดูคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะพิจารณาคำร้องกรณีมติที่ประชุม รัฐสภา สามารถเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรีซ้ำได้หรือไม่ ในวันที่ 16 ส.ค. ก่อน ถึงจะพิจารณาวันนัดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนัดประชุมทั้งในวันที่ 18 ส.ค. หรือวันที่
- 22 ส.ค. นี้ โดยต้องดูหน้างานจากคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหลักว่าจะออกมาอย่างไร ยืนยันเป้าหมายรัฐสภาต้องการให้มีรัฐบาลโดยเร็ว แต่ต้องเรียบร้อย ไม่ผิดกติกา ส่วนการเลือก นายกรัฐมนตรี รอบ 3 จะผ่านเรียบร้อยหรือไม่นั้น โดยส่วนตัวก็อยากให้เรียบร้อย แต่อยู่ที่ฝ่ายการเมืองที่จะประสานงานกัน สภามีหน้าที่เตรียมการจัดประชุมให้เรียบร้อย และทุกฝ่ายต้องพร้อมทั้ง สส.และ สว. ด้วย...งานนี้จึงต้องรอลุ้นกัน 18 ส.ค. นี้ หากมีการนัดประชุม รัฐสภา เพื่อโหวตเลือกนายกฯ พรรคเพื่อไทย จะดึง พรรค 2 ลุง และ สว. มาเติมเสียงสนับสนุน ดัน เศรษฐา ทวีสิน ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ได้สำเร็จ อย่างที่ตีปี๊บโหมกระแสไว้หรือไม่
...
...
- ฮัดชิ้ว...จากกรณีที่ รัฐบาล โดย กระทรวงมหาดไทย ได้ปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 12 ส.ค.2566 โดยมีสาระหลักเพิ่มเติม คือ เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือ มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ โดย ผู้ที่จะได้รับเบี้ยยังชีพ ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์สิทธิก่อน ส่วนผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพอยู่ก่อนวันที่ระเบียบใช้บังคับจะยังมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไปนั้น ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าอาจเป็นการ ตัดสิทธิของประชาชน ในการที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ...งานนี้ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ออกมาฟาดทันทีว่า การเปลี่ยนหลักเกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากเดิมจ่าย แบบถ้วนหน้า แต่ตั้งแต่ 12 ส.ค.เป็นต้นไป จะต้องพิสูจน์สิทธิก่อน เรื่องนี้กระทบกับสิทธิประชาชนอย่างร้ายแรง เพราะรัฐบาลรักษาการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลักไก่กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยผู้สูงอายุ ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ประมาณ 11 ล้านคน ทราบมาว่าจะมีการใช้ฐานข้อมูล บัตรคนจน หรือ บัตร สวัสดิการแห่งรัฐ ในการพิจารณาจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะทำให้มีผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพเพียงแค่ 5 ล้านคน เท่านั้น โดยผู้สูงอายุอีก 6 ล้านคน จะถูกรัฐลอยแพ ทั้งนี้ การบังคับให้ ผู้สูงอายุ ต้องพิสูจน์ความจนอาจเป็นการ กีดกันประชาชน ไม่ให้ได้รับ สวัสดิการจากรัฐ ขัดกับ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุฯ จึงสามารถฟ้อง ศาลปกครอง ให้เพิกถอนหลักเกณฑ์ ฉบับนี้ได้ และต้องจับตาดูต่อไปว่า รัฐบาล ที่กำลังจะเข้ามาจะจัดการอย่างไรกับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับนี้
...
- ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ชี้แจงว่า การปรับเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว โดย กฤษฎีกา ตีความว่าระเบียบเดิมที่ออกมาไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ว่าประชาชนจะต้องมีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ โดยเฉพาะ ผู้ยากไร้ จึงเป็นที่มาของการออกระเบียบใหม่ โดยจะมี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนดว่าจะทำอย่างไรถึงจะเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ถ้า คณะกรรมการผู้สูงอายุ ยังไม่กำหนด ทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จ่ายแบบเดิมได้ ทั้งผู้ที่ได้รับอยู่แล้ว และผู้ที่จะอายุครบ 60 ปี ที่เพิ่มมาใหม่ สามารถจ่ายตามเกณฑ์เดิมได้ ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง...งานนี้คงต้องรอวัดใจ รัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องเสียสิทธิอย่างไม่เป็นธรรม จบข่าว
- สังคมทั่วไป...วิทวัส พรกุล ประธานศิษย์เก่าสวนกุหลาบ 82 นัดเพื่อนร่วมรุ่น พบปะสังสรรค์ กลางปี 2566 ที่ห้อง Meet & Go อาคารศุภาลัย แกรนด์ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 วันที่ 18 ส.ค. ตั้งแต่ 10.30-17.00 น.
"ธนูเทพ"