จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การชี้แจงแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566-2570)” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.นฤมล อรุโณทัย ผอ.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 เน้นการเป็น “นวัตกรรมสังคม” ของการใช้หญ้าแฝกเพื่อเป็นเครื่องมือหนุนเสริมชุมชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในมิติสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี กล่าวว่า หญ้าแฝกเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระบรมชน กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง และนำมาพัฒนา โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะหญ้าแฝกมีความพิเศษสำคัญคือ จะมีรากมากมายและประสานกัน สามารถยึดดินไม่ให้พังทลาย ซึ่งช่วยในโครงการพระราชดำริได้อย่างอเนกอนันต์ โดยปัจจุบันหญ้าแฝกมี 28 สายพันธุ์ มีประโยชน์ในการรักษาดินและน้ำ และยังมีการวิจัยเพื่อผลิตเป็นยาด้วย.