ศูนย์คุณธรรมฯ มอบรางวัลผู้ชนะเลิศการแข่งขัน Moral Hackathon 2023 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 สู่แรงขับเคลื่อนแห่งสังคมคุณธรรม โดยมีผลงาน 5 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบ
เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 66 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดการแข่งขัน แฮกกาธอน (Hackathon) ในรอบ FINAL PITCHING โดยมีตัวแทนทีมจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ผ่านเข้าสู่รอบ 5 ทีมสุดท้ายจากทั้งหมด 14 ทีม โดยทุกทีมได้รับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในกิจกรรม Bootcamp 3 วัน จากทีม Mentor ผู้มากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ประกอบด้วย นายวีรพล วีระโชติวศิน ผู้ก่อตั้ง Global Shapers Bangkok Hub (Mentor วี), นายรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Fixzy application (Mentor รัช), คุณธัญลักษณ์ ศรีสง่า หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยนวัตกรรมและระบบพฤติกรรมไทย ศูนย์คุณธรรม (Mentor เอ) น.สพ.ปัณณวัชร์ พงศ์กิตติรักษ์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร Pettinee Corporate Co.,Ltd. (Mentor ตูน), นายกษิดิ์เดช นาเจริญวุฒิกุล Chief Executive Officer at VELLO 24 Co., Ltd. (Mentor กิต), นายหฤษฎ์ หัตถวงษ์ ผู้ประธานฝ่ายปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok Delivery Application (Mentor เจ) และคุณณัฐรดา ศรีบัวทอง Interpreter Mastermind ผู้ฝึกสอนการพูดในที่สาธารณะ (Mentor เมล่อน) เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม, คุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office SCG, คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม NIA, ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คุณธนกร ชาลี Chief Operation Officer ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค (MFEC) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสินผลงาน 5 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบ
...
Moral Hackathon 2023 จัดขึ้นภายใต้โจทย์ "Moral Move" เเรงขับเคลื่อนแห่งสังคมคุณธรรม และการแข่งขันในรอบสุดท้ายนี้ ทีมที่ผ่านด่านโจทย์สุดท้าทายและได้รับรางวัลมูลค่า 100,000 บาท ได้แก่ทีม "Easy Easy" โดยมีสมาชิกร่วมทีมจำนวน 3 ท่านได้แก่
1.นางสาวชาคริยา จันทรคามิ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.นายปริภัทร์ มะลีแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.นายเมฆินทร์ วงศ์ศรีลา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ร่วมกันสร้างผลงาน "Sign Sense" ซึ่งเป็นนวัตกรรมช่วยสื่อสารระหว่างผู้พิการในการได้ยินและคนหูดีเชื่อมโลกสองใบเข้าได้ด้วย เอาชนะใจกรรมการ จนคว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง และทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับรางวัลมูลค่า 35,000 แก่ทีม "Reyoung" ผลงาน "Reyoung" โดยมีสมาชิก 4 ท่านได้แก่ 1.นายกัมปนาท สุนทรธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 2.นายจักรกริช ธนกิจเจริญพัฒน์ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 3.นายชัชนันท์ ทองสุข นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 4.นายไพศาล สิทธิวงศ์ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยอีก 3 รางวัล มอบให้แก่ ทีม "ปื๊ดป๊าดผจญภัย", "Rookie" และทีม "สัพพีตีโย" การจัดการแข่งขัน Moral Hackathon 2023 : การออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายในด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการดําเนินการจัดกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแนวคิด การออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ให้เยาวชนประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจงานด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ได้สร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาคุณธรรมในสังคมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีหรือพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
...