'อ.อ๊อด ม.เกษตรฯ' เผยปัญหาถังดับไฟ CO2 ระเบิดในโรงเรียนราชวินิตมัธยมขณะซ้อมดับไฟ ตั้งสันนิษฐาน 2 ประเด็น "ถังเก่า-บรรจุก๊าซเกินขนาด" หรือวางตากแดดนานทำให้เกิดการขยายตัวจนถังระเบิด
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 23 มิ.ย. 2566 รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรืออาจารย์อ๊อด นักวิชาการ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมากล่าวถึงกรณีอุบัติเหตุถังดับเพลิง CO2 เกิดระเบิด ภายในโรงเรียนราชวินิต ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ขณะกำลังซ้อมแผนดับเพลิง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายรายเหตุเกิดเมื่อช่วง เวลา 11.00 น.ที่ผ่านมานั้น
อ.อ๊อด กล่าวว่า สำหรับการซ้อมดับเพลิง เคสนี้มี 2 ส่วน ถังที่บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กับถังเคมีที่ใช้ในการดับไฟ และตัวถังเชื้อเพลิงเหลว LPG ในเคสนี้เกิดการระเบิดที่ถังดับเพลิงสีแดงซึ่งเป็นถังดับเพลิงที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ใส่เข้าไปด้านในและผงเคมี ที่ช่วยในการดับไฟ โดยปกติถังสีแดงจะทนแรงดันได้ถึง 1,800 PSI หรือเทียบ ง่ายๆ คือ 126 กิโลกรัม ต่อตารางเซนติเมตร ฉะนั้นถ้าแรงดันมากกว่านี้จะเกิดการฉีกขาด เป็นเพราะแรงดันมากกว่า 126 กิโลกรัม ทำให้เกิดระเบิดหรือมาก 1,800 PSI โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดระเบิดได้ มีอยู่ 2 อย่าง คือถังเก่า ไม่มีการดูแลซ่อมบำรุง เกิดการขึ้นสนิม ทำให้ภาชนะเหล็กที่อยู่ด้านนอกไม่สามารถทน ต่อแรงดันที่ขยายจากด้านในได้ ในระหว่างการใช้มีการปลดปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์และทางดับเพลิง ไปบางส่วน หรือแรงดันที่ยังสูงอยู่ทำให้เกิดการฉีกขาด หรือไม่ก็การบรรจุใหม่ เช่น ถังเก่าที่พ่นไปแล้วและเกิดการบรรจุใหม่ ที่บรรจุก๊าซเกินกว่าที่ถังจะรับไหว
...
อ.อ๊อด กล่าวอีกว่า อีกกรณีคืออยู่ในจุดที่มีความร้อนสูงก็จะเกิดการขยายตัว เช่นวางตากแดดทิ้งไว้ ทำให้ถังเกิดการขยายตัว ส่วนจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของผู้ใดหรือไม่ อันนี้ต้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนต่อไป และถือว่าเป็นบทเรียนและการถอดบทเรียน อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องที่ดีในการสอนดับเพลิง แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนจะต้องได้รับมาตรฐานและมีความปลอดภัยด้วย ทั้งนี้ ขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตและขอให้ผู้ที่บาดเจ็บหายไวไวด้วย
มีรายงานว่า สถานะ ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 อุณหภูมิ มีผลกับแรงดันสภาวะปกติแล้ว Carbon Dioxide : CO2 อุณหภูมิจะติดลบ -50 ถึง -60 เป็นของเหลว ถ้านำไปใกล้ความร้อน หรืออุณหภูมิสูง จะทำให้เกิดการขยายตัว แรงดันเพิ่มขึ้น ที่หัวถังจะมีระบบวาล์วนิรภัย (Safety Valve) เพื่อระบาย ลดความดัน
ในส่วนถังภาชนะแรงดัน จะขึ้นรูปชิ้นเดียว ไร้ตะเข็บ จุดเปราะ หัวถัง หัววาล์ว ต้องมีการป้องกันการกระแทก
ภาชนะแรงดัน ต้องทำการวัดความหนา เหลือเท่าไร กัดกร่อนเท่าไร อายุการใช้งาน ทำการอัดทดสอบแรงดัน (hydrostatic test) รับรองการตรวจสอบทดสอบ โดยวิศวกร.