อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 เช้าวันนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดขึ้น และลมทางใต้ที่ช่วยพัดพาฝุ่นละออง แนะประชาชนตรวจสอบข้อมูลก่อนออกจากบ้าน
วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจวัดได้ 22-42 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดี กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พายุฝนฟ้าคะนอง ฝน 10% ของพื้นที่
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
- ในช่วงวันที่ 18-21 พ.ค. 66 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี/ดีมาก ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิดอย่างต่อเนื่อง ผลจากฝนตกระหว่างสัปดาห์ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ยังอยู่ระดับต่ำ และในช่วงนี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
- วันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างช่วงบ่ายถึงค่ำ
- สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยตั้งแต่วันที่ 18 เป็นต้นไป สถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่
- จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติ จากค่าความร้อนบนผิวโลก บริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
...
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรง ของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
- แอปพลิเคชัน AirBKK
- www.airbkk.com
- FB : สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
- FB : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
- FB : กรุงเทพมหานคร
- แอปพลิเคชัน AirBKK
- LINE ALERT
- LINE OA @airbangkok
ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษ สามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง Traffy Fondue
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ซึ่งคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิ และค่าความชื้นสัมพัทธ์ วันที่ 17-19 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
วันที่ 17 พฤษภาคม 2566
- ภาคเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ เพชรบูรณ์ 42.9 องศาฯ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ศรีสะเกษ 41.9 องศาฯ
- ภาคกลาง จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ บางนา กทม. 45.7 องศาฯ
- ภาคตะวันออก จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ สัตหีบ ชลบุรี 49.1 องศาฯ
- ภาคใต้ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ภูเก็ต 48.8 องศาฯ
วันที่ 18 พฤษภาคม 2566
- ภาคเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ เพชรบูรณ์ 44.6 องศาฯ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 42.0 องศาฯ
- ภาคกลาง จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ บางนา กทม. 46.4 องศาฯ
- ภาคตะวันออก จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ชลบุรี 47.8 องศาฯ
- ภาคใต้ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ภูเก็ต 49.9 องศาฯ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2566
- ภาคเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ เพชรบูรณ์ 48.8 องศาฯ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 43.9 องศาฯ
- ภาคกลาง จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ บางนา กทม. 54.0 องศาฯ อยู่ในระดับอันตรายมาก
- ภาคตะวันออก จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ชลบุรี 52.3 องศาฯ
- ภาคใต้ จังหวัดที่ดัชนีความร้อนสูงสุด คือ ภูเก็ต 48.9 องศาฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร