การติดตั้งกล้องจำลองนั้นเป็นการติดตั้งกล้องแบบสากล เพื่อป้องกันและปราบปรามลงไปด้วย โดยในส่วนการติดตั้งกล้องนั้น ส่วนแรกในปีงบประมาณ 49-50 ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและกรุงเทพมหานครติดตั้งเอง
ที่ศาลาว่าการ กทม. เมื่อ 6ต.ค. 54 นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภา กทม. เป็นประธานการประชุมสภา สมัยประชุมสามัญสมัยที่ 4 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 ซึ่งมีสมาชิกสภา กทม. พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามสดของนายวิสูตร สำเร็จวานิชย์ ส.ก. เขตลาดกระบัง เรื่อง ขอทราบการดำเนินการเกี่ยวกับการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือ CCTV ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อาทิ จำนวนการติดตั้ง รายละเอียดของราคากล้อง เป็นต้น ทั้งนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้มอบหมายให้นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงแทนว่าการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549-2550 ซึ่งเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเกิดเหตุระเบิดที่ราชประสงค์ ซึ่งในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างใน TOR ได้มีการระบุการติดตั้งกล้องจำลอง (Dummy Camera) โดยการติดตั้งกล้องจำลองนั้นเป็นการติดตั้งกล้องแบบสากล เพื่อป้องกันและปราบปรามลงไปด้วย โดยในส่วนการติดตั้งกล้องนั้น ส่วนแรกในปีงบประมาณ 49-50 ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและกรุงเทพมหานครติดตั้งเอง มีกล้องจำลอง 242 ตัว รวม 1,325 ตัว ส่วนที่ 2 ในนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้หาเสียงไว้ สภา
กรุงเทพมหานครได้อนุมัติติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของจริงทั้งหมด 2 หมื่นตัว ติดตามโรงเรียน สถานที่สำคัญๆ กล้องในที่สาธารณะจะเป็นกล้องที่มีคุณภาพที่ดี มีความคมชัด และสามารถสนับสนุนกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้ 700 กว่ากรณี ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการติดได้ครบแล้ว 1 หมื่นตัว และจะทยอยติดให้ครบ 2 หมื่นตัว ตามโรงเรียน สถานศึกษา และชุมชนต่างๆ เป็นต้น เพื่อเชื่อมเป็นเครือข่ายให้ครอบคลุมตามสำนักงานเขต 50 เขต สถานีตำรวจนครบาลทั้ง 89 สน. ทั้งนี้ ในส่วนกล้องจำลองจะทยอยนำออกจากจุดติดตั้ง แต่ทั้งนี้ต้องศึกษาข้อกฎหมายก่อนนำออก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องของสัญญา TOR และกระทบต่อการทำงานของข้าราชการประจำ.
...